โดย adam
ปัจจุบันเทคโนโลยีระบบ social network เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการบริโภคข้อมูลข่าวสารต่างๆรวมถึงการฟังเพลงในสังคมปัจจุบัน การที่สังคมของมนุษย์ติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้นและเข้าถึงได้รวดเร็วขึ้นด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอินเตอร์เน็ท ทางโทรศัพท์ หรือโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และอื่น ๆ ที่ไร้สายทั้งหลายนั้น ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไปมากถ้าเปรียบเทียบกับในอดีต t new urbanites ฉบับนี้เรามาวิเคราะห์มุมมองวงการเพลงบ้านเราว่ามีผลกระทบอะไรบ้างกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
จะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยค่ายเพลงไทยก็ต้องไล่ตามเทคโนโลยี การฟังเพลง หากย้อนวงการเพลงกลับไปก่อนหน้านี้ การสร้างยอดขายอัลบั้มเพลงให้ทะลุ 1 ล้านตลับ คงไม่ใช่เรื่องยากหรือไกลเกินเอื้อม ผู้บริหารศิลปินหลายๆ คนของสองค่ายยักษ์ทั้งฝั่งอโศกและลาดพร้าว ล้วนผลัดกันออกมาโวยอดขายทะลุล้านตลับของศิลปินคนนั้น คนนี้ อยู่เนืองๆ
มองกลับมาในยุคปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า คำว่าขายทะลุล้านตลับนั้น...ลืมไปได้เลย จากการระบาดของ ซีดีเถื่อน บวกกับเทคโนโลยีที่รุดหน้า ทำให้นักฟังขาจร หันมา ไร้ท์เพลงผิดกฎหมาย ฟังกันอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้ยอดขายอัลบั้มเพลง ที่เป็นลิขสิทธิ์ของแท้ตกฮวบแบบเอาอะไรมาฉุดก็รั้งไว้ไม่อยู่ เรียกว่าสมัยนี้อัลบั้มหนึ่งขายได้สัก 10000 ก๊อบปี้ ศิลปินก็ดีใจแล้ว ศิลปินเบอร์ไหนขายไปได้ถึงหลักแสน ต้นสังกัดก็เตรียมเลี้ยงโต๊ะจีนกันเลย ในอดีตถ้ายังนึกไม่ออกว่ามีศิลปินเบอร์ไหนบ้าง ที่เคยทำยอดขายถล่มทลายทะลุล้านตลับมาแล้ว มาไล่ดูกันเป็นน้ำจิ้ม เริ่มที่ พี่เบิร์ด- ธงไชย แมคอินไตย์ ซูเปอร์สตาร์อันดับ 1 ของไทย มีผลงานกับค่าย แกรมมี่ มานับไม่ถ้วน ทุกอัลบั้มล้วนมียอดขายถล่มทลาย โดยเฉพาะอัลบั้ม บูมเมอแรง เมื่อปี 2533 ที่ได้สร้างยอดจำหน่ายเทปสูงสุดถึง 2 ล้านตลับ ถือเป็นสถิติสูงสุดของนักร้องชายเดี่ยวของไทยที่วันนี้ก็ยังไม่มีใครสามารถลบสถิตินี้ได้ นอกจากนี้ในอัลบั้ม ชุดรับแขก เมื่อรวมยอดเทป ซีดี คาราโอเกะแล้ว พี่เบิร์ด ยังสามารถทำยอดทะลุไปถึง 5 ล้านก๊อบปี้อีกต่างหาก ทาทา- อมิตา มารี ยัง สาวน้อยมหัศจรรย์ที่ทำให้วงการเพลงคึกคักด้วยการสร้างยอดขายทะลุล้านตลับ ตั้งแต่อัลบั้มแรก อมิตา ทาทา ยัง ในปี 2538 ทำให้มีอัลบั้มพิเศษตามมาอีกมากมาย จนมาถึงอัลบั้มที่ 2 อะเมซิ่ง ทาทา ในปี 2540 เธอก็ยังคงครองแชมป์ทำยอดทะลุล้านตลับให้แก่ค่ายแกรมมี่อีกครั้ง
มาถึงนักร้องสุดเซ็กซี่ ติ๊นา- คริสติน่า อากีล่าร์ เธอคนนี้สร้างสถิติเป็นนักร้องหญิงคนแรกที่สามารถสร้างยอดขายเกินล้านตลับได้ถึง 3 อัลบั้มที่ทำออกมา ไม่ว่าจะเป็น อัลบั้มแรกในปี 2533 นินจา คริสติน่า อัลบั้มชุดที่ 3 ในปี 2537 เรด บีท รหัสร้อน และ อัลบั้มชุดที่ 4 โกลเด้น อายนอกจากนี้ แกรมมี่ ยังโกยตังค์หลักล้านอีกครา กับ โบ- สุนิตา ลีติกุล สาวแก้มป่องเสียงดีที่แค่อัลบั้มแรกก็มียอดขายพุ่งกระฉูด จนต้องทำอัลบั้มฉลองล้านตลับออกมาเลยทีเดียว
ทางฟาก อาร์เอส ไม่น้อยหน้า มีหลายอัลบั้มที่ทำรายได้พุ่ง แม้ยุคหลังๆ ก็ยังมีให้เห็น ไม่ว่าจะเป็น อัลบั้มของกลุ่มบอยแบนด์หนุ่มน้อย ดีทูบี ที่สามารถสร้างยอดขายได้เกินล้านตลับ ตั้งแต่อัลบั้มแรกที่ใช้ชื่อเดียวกับชื่อวงคือ ดีทูบี ในปี 2544 จนทำให้ต้นสังกัดถึงกับเปิดคอนเสิร์ตใหญ่ให้ แถมยังทำเพลงพิเศษเพลงใหม่ขึ้นมาเพื่อขอบคุณแฟนเพลงอีกด้วย รายนี้ก็มากอบกู้อาร์เอส สำหรับ ปาน- ธนพร แวกประยูร นอกจากจะได้รางวัลเป็นกอบเป็นกำการันตีคุณภาพ ในอัลบั้มที่ 2 หวานผ่าซาก ปี 2544 เธอก็สามารถดังกระฉูด อัลบั้มทำเงินทะลุล้านตลับไปอีกคนไอน้ำ วงป๊อปร็อกบ้านๆ วงนี้ ก็เข้าหลังคาเรือนได้ทุกบ้านจริงๆ เพราะนอกจากในอัลบั้มที่ 2 รักคนมีเจ้าของ ปี 2547 ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง เพลงดังจนเป็นคำฮิตติดปาก ท่าเต้นถูกใจคนฟังแล้ว ยังสร้างรายได้ทะลุล้านตลับไปแบบสบายๆ
ไม่เพียงแค่อัลบั้มจากสังกัดใหญ่ เมื่อปี 2540 โจอี้ บอย ก็เคยสร้างความฮือฮาให้ค่ายเบเกอรี่สมัยนั้นมาแล้ว ด้วยยอดขายทะลุล้านตลับ จากอัลบั้ม ฟัน ฟัน ฟัน หลังจากก่อตั้งค่ายมาได้ 3 ปี
ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องของ ซีดีเถื่อน และการดาวน์โหลดเพลงฟรีในอินเตอร์เน็ต ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วงการเพลงซบเซาเพราะการฟังเพลงของคนในยุคนี้กับยุค10-20ปีที่แล้วมันเปลี่ยนไป เมื่อมีคนฟังเพลงฟรีมากขึ้น..แล้วคนซื้อน้อยลง ทำให้ภาพรวมของธุรกิจเพลงนั้นเล็กลงไปด้วย พอเล็กลงเม็ดเงินที่ค่ายเพลงเคยผลิตงานเพลงก็น้อยลงทำให้เกิดกระแสการย้ายค่ายของศิลปินทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง
ในอดีตเงื่อนไขการลงทุนไม่เหมือนกับปัจจุบัน ค่ายเพลงลงทุนทำธุรกิจในกรอบวันนั้น พอต่อมาอีกยุคหนึ่งเป็น ยุคที่ทองของวงกาดนตรี ทั้งแกรมมี่และRS เงื่อนไขการลงทุนวันนั้นมันมีกำลังซื้อมาก ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ก็กล้าที่จะลงทุนถ้าศิลปินได้รับการยอมรับมาเมื่อใด กำไรที่ได้รับก็หลัก10ล้าน100ล้าน ค่ายเพลงก็กล้าที่จะทำ มาวันนี้ธุรกิจมันเปลี่ยนแปลงไป ไลฟ์สไตล์คนฟังมันเปลี่ยนไป รายได้ไม่ได้มาจากยอดขาย ภาคธุรกิจเพลงก็ปรับสเกลการลงทุนให้มันลดลงจากเมื่อก่อน เมื่อภาคธุรกิจเปลี่ยนการลงทุนมันก็เลยส่งผลกระทบกับคนทำงานเพลงทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ทำให้หลายคนเบื้องหลังหลายๆคนยังปรับตัวไม่ทันในการที่เปลียนแปลง ปัจจัยเหตุต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้กับคนทำงานเพลงโดยตรง
หลังจากที่วงการเพลงซบเซา ด้วยการโจมตีของเทคโนโลยี และผู้ฉวยโอกาส ค่ายเพลงและศิลปินต่างดิ้นรนหาทางอยู่รอดด้วยวิธีต่างๆนานา"วันนี้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา ทำให้รูปแบบการฟังเพลงของคนเปลี่ยนไป ช่องทางการจำหน่าย ก็เปลี่ยนไปเช่นกัน มีค่ายเพลงอิสระผลิตศิลปินอินดี้เกิดขึ้นมากมายในปีที่ผ่านมาทำให้เกิดกลุ่มคนฟังเพลงที่หลากหลายมากขึ้น การใช้ social networkก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ค่ายเล็กๆสามารถที่จะสื่อสารกันระหว่างศิลปินเองกับกลุ่มคนฟังเพลงจนเกิดฐานคนฟังก่อนที่จะออกซิงเกอร์ออกมา
การเปลี่ยนแปลงตัวศิลปินและงานเพลงในด้านของธุรกิจเพลงได้มีการปรับกลยุธนทางการตลาดควบคู่ไปด้วย ทุกค่ายนอกจากจะเน้นในเรื่องดิจิตอลดาวน์โหลดแล้วยังเน้นการโชว์บิช ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตหรือเทศการดนตรีก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับวงการเพลงในปัจจุบันที่ต้องต่อสู้กับแผ่นผีซีดีเถื่อน ซึ่งปัจจุบันก็มีโชว์บิช รูปแบบต่างๆออกมาไม่น้อยในปีนี้และยังจะทยอยออกมาอีกเรื่อยๆ หรือการกลับมาของศิลปินรุ่นเก่าที่มีฐานแฟนเพลงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วทำให้ง่ายกว่าการสร้างศิลปินใหม่เพราะมีฐานแฟนเพลงรับรองอยู่
สัดส่วนการฟังเพลงของคนไทย เพลงไทยสากลยังคลองตลาดส่วนใหญ่ มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ45 เพลงลูกทุ่งร้อยละ30 และเพลงสากลอีกร้อยละ20 หรือกระแสอะไรมาแรงในช่วงนั้นสัดส่วนต่างๆก็จะเปลี่ยนแปลงไปอีก
นาย Marcel Fenez, จาก บริษัทที่ปรึกษาชื่อก้องโลก PricewaterhouseCoopers เคยกล่าวไว้ในงานสัมมนาที่จัดโดยบริษัทแกรมมี่ว่าในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก สื่อมือถือจะครองความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาช่องทางการจำหน่ายเพลงทั้งหมด โดยจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 22.8% ขณะที่ยอดขายผ่านร้านค้าปกติ จะยังคงลดลงต่อเนื่องปีละ 4.7% ตลาดเพลงบนมือถือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นนำหน้าภูมิภาคอื่นๆ คาดว่าจะมี ผู้ที่จะดาวน์โหลดเพลงจากโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นเป็น 17% ของจำนวนผู้ใช้ทั้งหมด
สำหรับประเทศไทย มองว่าในระยะสั้นและปานกลาง โอกาสที่ใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมเพลงก็จะอยู่ที่สื่อมือถือ ตลาดออนไลน์นั้นน่าจะเป็น step ต่อไป เนื่องจากข้อจำกัดของเครือข่ายอินเตอร์เน็ทบรอดแบนด์ของเรายังไม่คลอบคลุมกว้างขวาง สำหรับบริษัทในอุตสาหกรรมสื่อต่างๆไม่จำกัดเฉพาะค่ายเพลงก็คือ จะต้องปรับองค์กรให้รับสู่ยุคดิจิตอลให้ได้ ซึ่งเป็นยุคที่ผู้บริโภคเป็นใหญ่ บริษัทผู้ผลิตสื่อนั้นมีความเคยชินมาเป็นเวลานานในการ Push Content ไปสู่ผู้บริโภค แต่ ณ ปัจจุบัน อำนาจ นั้นได้เคลื่อนย้ายมาสู่สื่อของผู้บริโภคแล้ว ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจเองว่า คนต้องการบริโภคสื่ออะไร ในสถานที่และเวลาที่ตนต้องการ มีเดียต้องให้ความสนใจและเข้าถึง social networks ต่างๆ ซึ่งจะมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคสื่อต่างๆ
ในส่วนที่เป็นธุรกิจเพลงหรือเพลงไทยสากล จำเป็นที่จะต้องพัฒนาไปในกระแสโลก ไม่ว่าจะเกาหลี ญี่ปุ่นหรือฝรั่ง เพราะเราคือผู้บริโภค เราไม่ใช้เจ้าของ เราเอาเข้ามาแล้วก็ Develop สิ่งที่เป็นภาษาไทย สิ่งที่เป็นไลฟ์สไตล์เข้าไป ถ้าให้กล่าวถึงธุรกิจเพลงไทยมันจำเป็นจะต้องเป็นอย่างนี้ต่อไป มันเป็นการพัฒนาแบบผสมผสานเราจะตามกระแสโลกไปเรื่อยๆเมื่อกระแสโลกไปทางไหนเราก็ตามไปเพราะเราคือผู้บริโภค จนกว่าเมือรัฐบาลไทยได้มองเห็นว่าเราจะทำให้วัฒนธรรมเราแข็งแรงแล้วลงทุนมีการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมดนตรี อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมละครซีรี่ย์ อุตสาหกรรมดนตรีไทย มันต้องมีแผนงานรองรับเมื่อนั้นเมืองไทยถึงจะมีวัฒนธรรมที่ออกไปเดินได้ไปสู่ตลาดโลกได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น