วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ไม่รีบและไม่ช้า @ เมืองน่าน


 ไม่รีบและไม่ช้า @ เมืองน่าน
     





  เรื่อง อดัมชินจัง
Carl Honore กล่าวว่า เราได้สูญเสียศิลปะแห่งการอยู่เฉยๆ ศิลปะแห่งการทำตัวให้เนิบช้าและการอยู่ตามลำพังกับความคิดของเราเอง
วัฒนธรรมความเร็วน่าจะเริ่มกัดกินมนุษย์มาตั้งแต่ปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อสัก 200 ปีก่อนแล้วค่อยๆสมทบด้วยการเกิดขึ้นของเมืองใหญ่บวกกับความก้าวล้ำด้านเทคโนโลยีทำให้มนุษย์เร่งรีบอย่างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนตกอยู่ใน ความขัดสนเวลาหรือ time poverty ยิ่งเมื่อโลกขับเคลื่อนด้วยระบบ ทุนนิยมติดเทอร์โบด้วยแล้วมนุษยชาติควร บริโภคผลิตและทำงานด้วยจังหวะก้าวที่สมเหตุสมผลมากกว่านี้” ซึ่งคำว่า จังหวะก้าวที่สมเหตุสมผลย่อมไม่ได้แปลแค่ว่า ช้าเสมอไปตอนหนึ่งจากหนังสือ รีบไม่ว่าช้าให้เป็น
การใช้ชีวิตแบบ Slow มันเป็นความคิดที่ต่อยอดมาจาก slow  food ที่นาย Carlo Petrini ชาวอิตาลีมีความคิดว่าทำไมคนอิตาลีประเทศที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์มีอากาศดีมีธรรมชาติสวยงาม ต้องมาบริโภคอาหารที่ไม่มีคุณค่าอะไรกับร่างกายแต่ได้ความเท่ห์โง่ๆ จากการโฆษณาและการตลาดที่ล้างสมองคน  ในเมื่อมีคนคิดฟาสต์ฟู้ดได้  ตัวแกก็เลยสวนไอเดีย Slow food  โดยแนวคิดนี้ก็คือการกินอาหารแบบไม่ต้องรีบเร่ง ไม่ต้องเร่งด่วนอะไรมากมาย เน้นความเพลิดเพลินจากการให้ลิ้นสัมผัสกับรสชาติอาหาร ปรุงอาหารจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในท้องถิ่น เน้นความใหม่สดปลอดสารพิษและเป็นอาหารที่มีอยู่ในวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  นอกจากจะเป็นเรื่องดีกับคนกินแล้วยังเป็นเรื่องดีกับชาวบ้านในท้องถิ่นอีกด้วย เพราะผลผลิตต่างๆ ก็ สามารถนำมาขายเพื่อปรุงเป็นอาหารสโลว์ฟู้ด จนเกิดเป็นเครือข่ายเกษตรกรที่ปลูกผัก และทำปศุสัตว์เพื่อป้อนวัตถุดิบเข้าสู่วงจรการผลิต   นอกจากนี้แล้วแนวคิดนี้ก็พัฒนาต่อมาเป็นเรื่องของการท่องเที่ยวที่เรียกว่า Slow Travel  ในเมืองไทยก็มีหน่วยงานรัฐที่ชื่อว่าองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) มีเป้าหมายเพื่อกำหนดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  อย่างสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานนี้ก็ได้นำแนวคิดนี้มาบอกเล่า แต่เรียกเป็นคำไทยเท่ห์ๆ ว่า การท่องเที่ยวแบบละเลียด หรือ ละเลียดทัวร์
เมืองน่านเป็นหนึ่งในเมืองที่ อพท .ประกาศให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในชื่อ พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน
ถ้าเอ่ยถึงเมืองน่าน หลายคนคงนึกถึง ปู่ม่านย่าม่าน ภาพจิตรกรรมฝาผนังตำนานกระซิบรักที่วัดภูมินทร์ และวัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่รายล้อมตัวเมือง รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และความหลากหลายของชนเผ่าต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดน่าน
น่านเมืองในหุบเขาเป็นเมืองที่มีความเงียบสงบ อากาศดีและยังคงมีความเป็นวิถีชุมชนที่แข็งแรงเมืองหนึ่งในประเทศไทย การได้มาท่องเที่ยวพักผ่อนแบบเนิบช้าที่น่าน นับว่าเป็นการเติมไฟในการทำงานที่ดี จากการติดต่อพี่บัวคำ สายธา หนึ่งในผู้ประสานงานการท่องเที่ยวชุมชนตำบลบ่อสวก ซึ่งทำให้มีโอกาสได้พักโฮมสเตย์ของคนในชุมชน โดยมีลักษณะเป็นบ้านไม้สองชั้น ตั้งอยู่กลางทุ่งนาสีเขียวสด ดูแล้วสบายตา ความที่บ้านตั้งอยู่กลางทุ่งนา ลมจึงสามารถพัดเอาความเย็นมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานตลอดวัน
การมาบ่อสวกเที่ยวนี้ ทำให้ผมไม่ต้องโหยหาอะไรเพิ่มอีก ชุมชนที่โอบล้อมด้วยภูเขา โดยมีทุ่งนาทอดยาวไปไกลทำให้มองแล้วสบายตา   ร้านค้าเล็กๆ ในหมู่บ้าน มีของใช้พื้นบ้านอยู่ไม่มากนัก  และมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนตั้งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน ผมจำชื่อวัดไม่ได้ ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นวัดป่า ชาวบ้านส่วนใหญ่จะรู้จักกันหมด
ช่วงนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่กำลังทำนา และที่น่านยังมีประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว ที่ยังหาดูได้ ในชุมชนแห่งนี้ โดยมีเจ้าของนาที่จะทำนาเดินมาบอกคนตามบ้าน ต่างๆว่าจะดำนาของตัวเอง บ้านนี้หนึ่งคน บ้านนี้สองคน หลายๆ บ้านก็เป็นคนหลายสิบคน มาช่วยทำนา ไม่มีสินจ้างที่เป็นเงิน มีแต่ข้าวปลาอาหารเลี้ยง การดำนา เป็นขั้นตอนที่ง่ายแต่ต้องอาศัยความอดทนในการทำ เท้าที่ย่ำไปบนดิน หลังที่หันสู้แดด   เมื่อเสร็จจากการดำนา หลายคนก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ต่างคนต่างมีวิถีที่เรียบง่าย ในแบบฉบับของตัวเอง ชีวิตที่เนิบช้ายังคงดำเนินต่อไป  โดยมีผมเฝ้ามองวิถีที่ละเลียดของคนชุมชนอย่างอิจฉา อาหารไม่มีสารพิษหรือสารเร่งให้โตไว  อากาศก็สดชื่น หายใจโล่งจมูก จังหวะในการดำเนินชีวิตคนที่นี้ไม่รีบและไม่ช้า สิ่งนี้ที่เรียกว่าวิถีแห่งการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง คนเมืองอย่างเราขาดและหลายคนกำลังโหยหาอยากจะมี ผมใช้จ่าย เงินไม่มากสำหรับการมาพักที่ ต.บ่อสวก แห่งนี้  
คืนนั้นที่บ้านพัก ผมหลับลงอย่างมีความสุข เสียงเพลงของจิ้งหรีดเรไรดังอยู่กลางทุ่ง สายลมพัดมาเอื่อยๆ บนท้องฟ้ามีดาวเรียงรายอยู่มากมาย ถ้าใครอยากย้อนเวลากลับไปหาบรรยากาศเก่าๆ ของวิถีชีวิตไทยเมื่อสัก 30 หรือ 40 ปีที่แล้ว เมืองน่านแห่งนี้น่าจะเป็นคำตอบได้ดี ผมเชื่อแล้วว่าคนเมืองอย่างเราขาดศิลปะแห่งการทำตัวให้เนิบช้าตามที่นาย Carl Honore บอก


วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

เราจะปกป้องศาสดามูฮำหมัด(ซ.ล)กันอย่างไร…..



เราจะปกป้องศาสดามูฮำหมัด(ซ.ล)กันอย่างไร…..
คอลัมน์วิพากสังคมมุสลิม
โดยอดัมชินจัง









ตั้งแต่มีเหตุการณ์ที่นาย แซม เบซิล ซึ่งเป็นนามแฝง ชาวอียิปต์ นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก ทำหนังสั้นเรื่อง ดิ อินโนเซนส์ ออฟ มุสลิมออกมา ดูหมิ่นนบีมูฮำหมัด(ซ.ล)ศาสดาองค์สุดท้ายของศาสนาอิสลาม จนกลาย เป็นเรื่องราวลุกลามใหญ่โตหวุดหวิดจะกลายเป็นสงครามศาสนาย่อยๆ กระจัดกระจายไปทั่วโลก  และยิ่งเอกอัครราชทูตอเมริกาเสียชีวิตในประเทศลิเบีย ยิ่งสร้างความโกรธแค้นระดับประเทศ ไม่ใช่เรื่องอะไรนอกจากพิษภัยของการลบหลู่ ดูหมิ่นในศาสนาอิสลาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้มุสลิมทั่วโลกตื่นตัวกันมากในเรื่องทีเราจะต้องปกป้องนบี ร่วมถึงประเทศไทยเราด้วย สื่อมุสลิมในหลายๆค่ายได้ออกมาเล่นข่าวนี้กันมากมาย และพร้อมที่จะเป็นหัวขบวนในการเดินทางไปประท้วง ทั้งเฟสบุค และทวิตเตอร์ มีมุสลิมได้แสดงออกถึงการที่เราจะเป็นหนึ่งในเรื่องของการรักนบีและต้องปกป้อง เด็กๆชูป้ายเขียนข้อความเรารักนบี  และหลายหน้าเพจหลายๆหน้าที่แสดงออกถึงการรักนบี มุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศตื่นตัวกับหนังสั้นที่ยาวไม่ถึง15นาทีกันมาก
ผมนั่งดูคลิปดังกล่าวที่ดูหมิ่นนบีอันเป็นที่รักของเราทุกคนและติดตามข่าวดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมมุสลิมการเรียกร้องของนักปราชญ์ให้ออกมาต่อต้านหรือตอบโต้การหมิ่นดังกล่าว สื่อในsocial mediaได้โหมกระหน่ำในหน้าเพจมุสลิมและได้ยินเสียงแว่วๆจากช่องสีขาว ว่าจะทำหนังเกี่ยวกับนบีออกมาในอนาคตให้คนต่างๆได้รู้และเข้าใจ
จากเหตุการณ์ดังกล่าวผมลองเอาปัญหาที่นบีของเราถูกดูหมิ่นมานั่งคบคิดและลองขยายกรอบความคิดให้กว้างออกไป และกรอบของเวลาให้ยาวนานขึ้น ทำให้เห็นอะไรต่างๆมากมายจากกลุ่มพี่น้องมุสลิมของเรา สำนักจุฬาฯที่เป็นผู้นำระดับประเทศแสดงบทนิ่งเฉย กลุ่มคนทำสื่อมุสลิมในช่องต่างๆได้ออกมาแสดงบทผู้นำในการเรียกร้องแสดงออกถึงการรักนบี ชูป้ายเดินประท้วงและร่วมละหมาดหน้าห้างดังกลางเมืองหลวงและคนทำสื่อก็เอาไปขยายความในสื่อที่ตัวเองสังกัดบอกให้มุสลิมที่ไม่ได้ร่วมขบวนได้รับรู้ถึงพลังในการแสดงออกของพี่น้องเรา และกระแสการรักนบีก็ดังกระหึ่มในหน้าออนไลน์
ถ้าเรามองถึงปัญหาดังกล่าวเราจะพบอะไร การดูถูกเหยียดหยามนบีอันเป็นสุดที่รักของเรามันเกิดขึ้นมาตอนไหนมันเป็นคำถาม มันเกิดขึ้นมาตั่งแต่นบีของเราเริ่มประกาศศาสนาวันแรก ที่อัลเลาะห์สั่งใช้นบีให้เริ่มทำงานเรียกร้องมนุษย์ชาติสู่ศาสนาอิสลาม โอ้ผู้ห่มกายอยู่เอ๋ย !จงลุกขึ้น แล้วประกาศตักเตือน ซูเราะฮฺ อัล-มุดดัษษิร วันแรกที่นบีเริ่มประกาศจนถึงวันที่ศาสนาสมบูรณ์ และมาถึงเราในยุคปัจจุบันที่มีคนนับถืออิสลามประมาณเกือบสองพันล้านกว่าคน
อิสลามได้ถูกต่อต้านมาต่างๆนานาทั่งที่ลับและเปิดเผยทั้งล้อเลียนและดูหมิ่น มาในรูปของตัวการ์ตูนที่แฝงนัยยะทางศาสนาบ้างหรือนิทานหรือจะเป็นเพลงหรือหนังสั้นของนายแซม เบซิล ดังกล่าว การทำอย่างเปิดเผยตัวก็มี ถ้ามองดูสิ่งที่ใกล้ตัวสำหรับคนในประเทศไทย ตัวอย่างเช่นแอ๊ดคาราบาว หรือจะเป็นดีเจเอฟก็เคยทำ ผมคงไม่ต้องขยายความถึงสิ่งดังกล่าว ถ้าใครเคยดูป๊อบอายในอดีตและคิดตามก็คงเข้าใจหรือนิทานเด็กเลี้ยงแกะหรือเพลงสากลที่วัยรุ่นมุสลิมชอบฟังหารู้ไม่ว่ามันเป็นเพลงที่ร้องและเล่นกันในโบสถ์และอีหลายกรณีอันนี้ยังไม่รวมกรณีที่มุสลิมโจมตีกันเองที่ปฎิบัติศาสนาไม่เหมือนกันถูกดูหมิ่นและบางครั้งก็ทำตัวเป็นเจ้าของสวรรค์เจ้าของนรก
แล้วปัญหามันคืออะไรถ้าเรามองลึกไปถึงปัญหาโดยกรอบความรู้และความเข้าของผมปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นมาคือศัตรู หมายเลข1ของอิสลาม คือ ยิว (ไซออนิส)ชนชาติที่จะทำอย่างไรก็ได้ที่ทำให้มุสลิมตกต่ำขาดเอกภาพและทำให้มุสลิมที่อ่อนในความเข้าใจอิสลามเดินตามและเห็นดีด้วยกับมัน
สิ่งที่มุสลิมได้ออกมาเดินเรียกร้องเดินขบวนนั้นเป็นแค่ปลายเหตุและก็แก้ไขอะไรไม่ได้ นอกเสียจากความสะใจของคนบางกลุ่ม ถ้าแสดงออกมากไปก็อาจทำให้เกิดความรำคานและต่อต้านของคนรอบข้างที่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ (ถ้าไม่เชื่อลองเดินขบวนประท้วงตอนห้าโมงเย็นวันศุกร์สิ้นเดือนดู)จากความเห็นใจและอย่างรู้ความเป็นมาอาจนำไปสู่การเกลียดชังก็ได้
แล้วมุสลิมจะแสดงออกอย่างไรนั้นแหละคือสิ่งที่มุสลิมต้องกับมานั่งคิดและวิเคราะห์ อย่างไหนเป็นการแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด อิสลามสอนให้มุสลิมทุกคนรู้ว่าเราจะทำสิ่งไหนก็แล้วแต่ มันจะมีกฎเกณท์ในการทำอยู่ สามระดับ ได้,ดี,ดีที่สุด เช่น การละหมาด ละหมาดที่บ้านได้ไหม ได้ ถ้ามาละหมาดที่มัสยิด อันนั้นดี แต่ถ้ามานั่งรอละหมาด สุดยอดแล้ว คือดีที่สุด
แล้วการแสดงออกสิ่งดังกล่าวมุสลิมจะทำอย่างไรในเมื่อมันทำหนังสั้นออกมาเราต้องทำหนังสั้นสู้กับมันเหมือนแบบเกลือจิ้มเกลือ หรือจะเดินขบวนแสดงถึงความมีพลังของพี่น้องมุสลิมที่รักนบี หรือตอบโต้กันในหน้าเว็บเพจ
ปัญหาที่แท้จริงมันไม่ได้อยู่ที่ยิว คนนั้น หรือคนกลุ่มไหนที่จะทำลายอิสลามแต่ปัญหามันคือ มุสลิมนั้นเองที่ทำให้อิสลามเราตกต่ำ วันนี้เราเรียกร้องในการแสดงพลัง รวมพลคนรักนบี  ขอถามเรารักนบีกันแบบไหน เดินชูป้ายรักนบีและรวมละหมาดกันหน้าห้าง กลางกรุงเทพฯอย่างนั้นหรอ  สิ่งนี้หรือพี่น้องที่บอกว่าเรารักนบี ไม่ใช่หรอก ใครก็ตามที่ปากบอกว่ารักนบีเขาหรือใครคนนั้นจะต้องลอกเลียนแบบพฤติกรรมของท่านนบีมาอยู่บนตัวเขาให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการกินการนอนการดำเนินชีวิต มารยาททางสังคม การอยู่รวมกันกับครอบครัว การค้าขาย บุคลิกลักษณะต่างๆและการทำอีบาดะห์ ต่ออัลเลาะห์(ซ.บ.)แล้วปัจจุบันสังคมมุสลิมเป็นอย่างไร ปากบอกว่ารักนบีแต่ไม่เคยไปมัสยิดเหมือนนบีเลย (นบีไปละหมาดที่มัสยิดจนถึงวาระสุดท้ายของท่าน) เราบอกว่าเรารักนบีแต่ไม่มีบุคลิกและสัญลักษณ์อะไรที่บอกว่าเป็นมุสลิม  แล้วมุสลิมกับคนที่ดูถูกอิสลามอย่างไหนคือความแตกต่าง คนที่น่ากลัวไม่ใช่คนยิวกลุ่มต่างๆที่เปิดเผยตัวในการทำให้อิสลามตกต่ำ แต่เป็นคนอิสลามเองที่บอกว่ารักแต่ไม่ปฏิบัติอิสลามทำให้อิสลามตกต่ำดังเช่นปัจจุบัน แค่พี่น้องมุสลิมขาดการพยายามบนอีหม่านไปสู่การปฎิบัติอาม้าลศาสนาอิสลามแค่นี้เราก็ตกต่ำแล้ว เราเช็คอีหม่านมุสลิมกันอย่างง่ายๆถ้าถามว่ามีกี่คนในชุมชนมุสลิมที่ได้ละหมาดซุบฮี่ มีกีเปอร์เซ็นต์ เราบอกว่าเรารักนบี  บนตัวเรามีซุนนะห์อะไรบ้างที่ทำเป็นประจำ เราบอกว่าเรารักพี่น้องมุสลิมของเรา เราเคยดุอาถึงพี่น้องของเราจนหลั่งน้ำตาในสภาพความปวดร้าวที่พี่น้องเราประสบไหม มันเป็นคำถามง่ายๆ อันนี้ต่างหากที่เป็นพลังที่แท้จริงในความรัก ยิ่งพี่น้องมุสลิมเรียกร้องตัวเองให้มีความผูกพันกับมัสยิดมากเท่าไร ยิ่งพี่น้องมุสลิมเรียกร้องตัวเองมาสู่การปฎิบัติสุนะห์มากเท่าไร ยิ่งพี่น้องมุสลิมดุอาให้พี่น้องของเราจนมีน้ำตาอาบแก้มในความปวดราวที่พี่น้องมุสลิมเราได้เผชิญ สิ่งต่างๆเหล่านี้ต่างหากที่เป็นพลังและเป็นการแสดงออกถึงการรักนบีที่เราได้เจริญรอยตามไปสู่ความรักและเป็นแนวทางที่ให้อัลเลาะห์พอใจ ....
สิ่งต่างๆเหล่านี้มันเป็นคำถามที่พี่น้องมุสลิมต้องช่วยกันตอบ เมื่อวันหนึ่งอิสลามได้เข็มแข็งบนตัวของมุสลิมมากเท่าไร ภาพของความรักนบีก็จะเป็นรูปธรรมมากขึ้น มุสลิมร้อยเปอร์เซ็นในชุมชนต่างๆเดินมาสร้างความจำเริญให้กับมัสยิด ภาพของมุสลิมปรากฎไปตามตรอกซอกซอยทั่วหน้าแผ่นดิน ภาพสังคมแห่งอิสลามมีชีวิตเกิดขึ้น เราไม่ต้องพูดหรอกว่าเรารักนบีถ้าภาพนั้นมันปรากฎไปทั่วในสังคม ใครจะทำร้ายหรือใครจะดูหมิ่น ก็ทำอะไรสังคมมุสลิมไม่ได้ ถ้าพลังดังกล่าวปากฎอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทัวร์ ‘สุโขทัย’ แบบละเลียด



ทัวร์ สุโขทัย แบบละเลียดๆ

เรื่องภาพ(อดัมชินจัง) 




จังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการมาท่องเที่ยวและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สุโขทัยในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทยเมื่อ 700 กว่าปีที่ผ่านมา เป็นเมืองที่มีความยิ่งใหญ่มากเมืองหนึ่ง อาณาบริเวณจากหลักฐาน ปรากฎว่า แผ่ขยายไปถึงหลวงพระบางจนสุดถึงแหลมมลายู ในทางทิศตะวันตกติดเขตแดนเมาะตามะ  

อาจารย์ อาลี เสือสมิงได้นิยามประวัติศาสตร์เอาไว้ว่า ประวัติศาสตร์ คือ เหตุการณ์ปัจจุบันของคนในอดีต ซากเมืองเก่าของสุโขทัยทั้งหมดที่มีร่องรอยหลักฐาน บอกให้เรารู้ว่า นั้นคือภาพความเป็นปัจจุบันของคนในอดีตทั้งสิ้น ที่ครั้งหนึ่งเมืองสุโขทัยเคยยิ่งใหญ่ และมีความอุดมสมบูรณ์

การเที่ยวแบบละเลียดน่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับการมาเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และชุมชนใกล้เคียงก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจในการเรียนรู้เที่ยวชม ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ โอกาสดีที่ผมได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยวจาก อพท. ที่มีชื่อเต็มว่าองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) จึงได้วางแผนมาเที่ยวสุโขทัยตามเส้นทางที่เจ้าหน้าที่ท่านนั้นแนะนำ ซึ่งเขาย้ำว่าให้มาเที่ยวแบบละเลียดทัวร์

จักรยานเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์การเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ดีที่สุด เพราะจักรยานจะพาคุณไปตามตรอกซอกซอยได้อย่างตามใจปรารถนา การมีความรู้ก่อนที่จะมาท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่ากระทำอย่างยิ่ง เพราะนักท่องเที่ยวเองสามารถที่จะเข้าใจและเห็นภาพได้ง่าย  พูดง่ายๆ  คือเมื่อเรามีความรู้มาก่อน เราจะมีภาพประวัติศาสตร์ในหัวก่อนการเที่ยวชม จะทำให้การเที่ยวชมออกรสชาติมากยิ่งขึ้น เหมือนเสียบปลั๊กแล้วติดเลย มันจะดีกว่าการมาเที่ยวแค่ได้เห็นและกลับไป ไม่ได้ซึมซับประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชรภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคมพ.ศ. 2534
การที่เราได้ออกแรงปั่นจักรยาน นับว่าเป็นการเที่ยวเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบ SlowTravel ทางหนึ่ง หรือจะเรียกง่ายๆ เที่ยวแบบละเลียด ค่อยๆ ถีบ คอยๆ ปั่น และค่อยเรียนรู้ ได้เห็นประวัติศาสตร์อย่างเนิบช้า

ทริปนี้ผมอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย
จากประตูทางเข้า ด้านขวามือ คือ พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรละเลยเข้าไปสักการะ เนื่องด้วยพระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาไทย ที่เรียกว่า ลายสือไท ที่ทำให้เรามีอักษรเขียนจนทุกวันนี้

ทางด้านซ้ายมือ คืออลังการวัดมหาธาตุวัดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองนักท่องเที่ยวที่รักการถ่ายรูปพลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง ในการที่จะมาเยือนและถ่ายภาพสักครั้ง เพราะนอกจากที่เราได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์แล้วยังเป็นสนามฝึกการถ่ายภาพได้ดีอีกด้วย ไม่ว่าจะถ่ายแนวขาวดำหรือว่าภาพสี ก็ได้หลายอารมณ์ ประมาณว่าเดินถ่ายได้เกือบจะทุกมุมมอง แต่ถ้าได้มองจากความรู้สึกข้างใน มันทำให้จิตใจเราอิ่มเอิบอย่างไรบอกไม่ถูกต้องมาสัมผัสเอง ถึงจะรู้
ในบริเวณรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจะมีวัดอยู่มากมายนอกจากวัดมหาธาตุ เช่น วัดตระพังเงินวัดสระศรีวัดพระพายหลวงวัดศรีชุมหรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่าพระพูดได้วัดช้างล้อมวัดเชตุพนทั้งหมดนี้ถือเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยทุกวัดที่ได้กล่าวมาแล้วล้วนมีประวัติและความเป็นมาแทบทั้งสิ้น ในเว็บไซต์และหนังสือประวัติศาสตร์หลายๆเล่ม ได้เขียนเอาไว้อย่างมากมาย มีความเหมือนหรือคล้ายๆกันไปหาอ่าน ผมคงไม่เขียนซ้ำ กลัวจะน่าเบื่อ
        
การมาเที่ยวเมืองเก่าสุโขทัยการมาเป็นครอบครัวก็นับว่าเป็นกิจกรรมที่ดีกิจกรรมหนึ่ง สำหรับเด็กๆการได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์ของจริง ก็จะทำให้เด็กได้ซึมซับประวัติศาตร์ได้อย่างง่ายดายแต่ถ้าเดินทางไปกับคนรู้ใจก็จะเป็นสถานที่โรแมนติกอีกฉากที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ

เมื่อเราปั่นจักรยาน ชมสถานที่ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ก็อยากแนะนำให้ปั่นต่อไปตามชุมชนต่างๆที่อยู่รอบอุทยานฯ ทั้ง12ชุมชน รอบเมืองสุโขทัย ความเป็นชุมชนดั้งเดิม ทำให้มีกิจกรรมหรือวิถีชีวิตพื้นบ้านของคนในชุมชนให้เห็น เช่นชุมชนบ้านใหม่ตระพังทอง อยู่ระหว่างวัดตระพังทองกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหงเป็นชุมชนที่มีบ้านหลายหลังทำเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า สังคโลก อยู่ในบริเวณนั้น นอกจากจะไปหาซื้อเป็นของฝาก หรือนำไปตกแต่งบ้านแล้ว นักท่องเที่ยวก็สามารถทดลองทำได้ไม่ว่าจะปั้น หรือเขียนลายไม่ว่าจะอันไหนก็ต้องใช้ความพยายามเหมือนกันครับ การปั้นด้วยแท่นหมุน ก็ต้องค่อยๆ ใช้มือประครองดินให้ขึ้นรูปตามแต่รูปทรงที่ต้องการ ซึ่งสังคโลกของสุโขทัย ก็มีทั้งโถ ไห ถ้วย ชาม ส่วนการเขียนลาย แนะนำว่าคนอ่อนวิชาศิลปะควรเริ่มต้นเขียนที่จานปลาหรือถ้วยเล็กๆ ก่อนครับ ลวดลายบนเครื่องสังคโลกโดยมากจะเป็นลายปลา ซึ่งคำโบราณเรียกว่าปลาก่า ลายดอกไม้ ลายเครือเถาหรือลายพรรณพฤกษา ลายนก ผมว่า การเขียนลายเป็นวิธีฝึกสมาธิที่ดีมากครับ คนซนๆ อย่างผมนิ่งไปเลยเมื่อได้จับพู่กันแล้วจุ่มหมึกสีดำบรรจงวาดไปบนจานเล็กๆ กว่าจะสร้างสรรค์งานฝีมือหนึ่งเดียวในโลกชิ้นนี้เสร็จ ผ่านไปเกือบชั่วโมงครับ เมื่อเสร็จแล้วทางร้านจะเอาไปเคลือบ และเผา แต่ผมยังไม่สามารถนำกลับไปได้ทันทีครับ เพราะการเผาจะต้องรอเผารวมกับของชิ้นอื่นๆ อีกหลายชิ้นให้เต็มเตาเผา ฉะนั้น เหมือนจะเป็นกุศโลบายให้ผมตื่นเต้นระหว่างที่รอรับงานฝีมือหนึ่งเดียวในโลกของตัวเอง ฉะนั้น เมื่อชิ้นงานเรียบร้อยแล้วทางร้านก็จะส่งไปให้ถึงที่บ้านเลยครับ

อีกชุมชนที่อยากแนะนำก็เป็นชุมชนบ้านเหนือ ตั้งอยู่ในซอยข้างร้านเซเว่นอีเลฟเว่น เยื้องกับตลาดเมืองเก่า ที่มีการแกะสลักปลาตะเพียน จากไม้สัก วิธีการก็ไปนำเศษไม้จากชุมชนใกล้เคียงมาแล้ว ใช้ขวาน ฟันลงไปจนเป็นเคล้าโครงของปลา จากนั้นก็นำมาขัด และเขียนลาย ชุมชนนี้จะทำไม้แกะสลักทั้งซอย บางบ้านก็ดัดแปลงทำเป็นมือเอาไว้วางขวดไวน์  


แต่ที่อยากแนะนำเป็นพิเศษคือขนมแดกงา ของชุมชนนี้ ฟังชื่อก็ดูแปลกแล้วใช่ไหมครับ ขนมแดกงาเป็นขนมพื้นบ้าน ที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อายุก็ประมาณ 700กว่าปี ขนมแดกงานั้นมีวิธีคิดของภูมิปัญญาพื้นบ้านรวมอยู่ด้วย คือการเก็บหรือถนอมอาหารนั้นเอง วิธีทำ ก็คือนึ่งข้าวเหนียวจนสุกแล้วเอาไป ตำตอนร้อนๆ และใส่งาลงไป และตำอีกครั้งให้งากับข้าวเหนียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คำว่าแดกงา มันมาจากการตำนั่นเอง คือ การตำไปแรงๆ กระแทกลงไป ชาวบ้านก็เรียกว่าขนมแดกงา ผู้เขียนเองก็ได้ลองทำ สนุกดี อยากจะแนะนำให้มาตอนเย็นๆ จะได้เห็นวิธีทำ และได้ชิม ขนมแดกงาแบบทำเสร็จใหม่ๆ ถ้ามาไม่ทันก็ไปหาซื้อที่ตลาดได้ ห้ามเกิน8โมงไม่อย่างนั้นหมดอดกิน

วิถีของชุมชนที่อยู่รอบเมือง ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทุกบ้านทำนาเหมือนกันหมด การแกะสลักปลาตะเพียน ก็เป็นการทำในเวลาว่างจากการทำนา เพื่อเอามาให้ลูกหลานเล่น ส่วนขนมแดกงานั้นจะทำก็เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ ตอนเอาข้าวเข้ายุ้งฉางแล้ว ก็จะมีพิธีบุญรับขวัญข้าวโดยมีขนมแดกงาในงานบุญนั้นด้วย และอีกหลายชุมชนก็มีวิธีคิดในการทำสิ่งของพื้นบ้านคล้ายๆกัน คือเมื่อว่างจากการทำนา 

ความเป็นชุมชนที่นี้จะไม่ใหญ่มาก ปั่นข้ามซอยก็เป็นอีกชุมชนแล้ว ของดีจากชุมชนรอบเมืองยังมีอีกหลายๆอย่าง และนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ การเที่ยวแบบเชื่อมโยงกับชุมชนเป็น การท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งในแนวทางการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน เพราะค่าใช้จ่ายที่ผมได้จ่ายออกไป ผมมั่นใจว่าจะกระจายไปสู่ชุมชนอย่างแท้จริง