วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ธนาคารอิสลามเป็นแบรนด์เพื่ออิสลามจริงๆหรือ


ธนาคารอิสลามเป็นแบรนด์เพื่ออิสลามจริงๆหรือ
องค์ประกอบหลักของสัญลักษณ์ของธนาคารอิสลามฯ ประกอบด้วย “อะลีฟ” อักษรภาษาอาหรับตัวแรกในการสะกดคำว่า “อิสลาม”
หรือมองในอีกนัยหนึ่งคือ อักษร “ไอ” ในคำภาษาอังกฤษว่า “Islamic” ซึ่ง ตวัดเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาวสีเหลืองทอง
อยู่บนพื้นสีเขียว
 ให้ความหมายถึงความเป็นผู้นำที่ก้าวหน้ายั่งยืน และด้วยสีเหลืองทอง สื่อถึงพลังแห่งความสว่างไสว เคียงคู่กับดวงดาวเสมือนการเกื้อกูล โอบอุ้มซึ่งกันและกัน พร้อมรวมใจสามัคคี เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความมั่นคงและความสำเร็จตลอดกาล
สีเหลืองทอง หมายถึง พลังแห่งแสงสว่างของศาสนาอิสลามที่ให้ความสว่างไสวแก่ผู้คนทุกชาติศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน
สีเขียว หมายถึง ความเจริญงอกงามอย่างมั่นคง รุ่งโรจน์ สดใส



ความจริงบทความนี้ผมตั้งใจจะเขียนมานานหลายเดือนแล้วแต่ก็ติดในเรื่องของเวลาในการที่จะเขียนถึง ผมออกตัวนิดนึงว่าจะเขียนในมิติของผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าธนาคาร  สื่อมุสลิมในหลายฉบับกลับมองข้ามประเด็นเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ และสื่อมุสลิมเองกลับไม่ได้นำเสนอ หรือมองข้ามประเด็นเหล่านี้ หรืออาจเกิดจากความกลัวว่าเมื่อเขียนถึงแล้ว ธนาคารอิสลามอาจจะไม่ลงโฆษณากับเล่มเรา หรืออะไรก็แล้วแต่ ผมอยากเขียน สะท้อนไปยังผู้บริหารธนาคารที่มีชื่อแบรนด์ต่อท้ายว่าอิสลาม ว่าแท้จริงแล้วผู้บริหารธนาคารอิสลาม มีวิธีคิดอย่างไรในการบริหาร ที่มีชื่อต่อท้ายว่าอิสลาม
เมื่อจะทำธุรกิจกับกลุ่มคนมุสลิม แล้วเอาอิสลามเข้าไปต่อท้ายของธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นต้องมีมันมีอะไรบ้าง มันเป็นสำนึกแรกที่ต้องถาม ในการทำธุรกิจ ผมยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นร้านอาหารอิสลาม แน่นอนต้องเป็น อาหารต้องฮาล้าลมุสลิมกินได้ มีที่จอดรถ มีห้องละหมาดไว้รองรับกลุ่มคนมุสลิมที่มีความต้องการจะละหมาดเมื่อได้เวลาหรือยังอยู่ในเวลา
แต่แบรนด์ ธนาคารอิสลามกลับไม่มีห้องละหมาดน่าคิดไหม ห้างหลายๆแห่งเขาก็มีห้องละหมาดไว้รับรองกับกลุ่มคนมุสลิม และหลายๆที่ก็มีห้องละหมาดไว้บริการ แต่ที่ธนาคารอิสลามกลับไม่มีห้องละหมาด  มันเป็นคำถามทีทำให้ผมรู้สึกผิดหวังกลับวิธีคิดของผู้บริหารธนาคาร
พนักงานสำนักงานใหญ่ ธนาคารอิสลาม ท่านหนึ่งอาจแย้งว่ามีห้องละหมาดนะ อืมผมก็ไม่เถียงแต่อยู่โน่น ชั้น 22 ถ้าผมจำไม่ผิดและก็ให้เฉพาะพนักงานละหมาด ลูกค้าที่มาใช้บริการชั้นล่างหมดสิทธ์ ที่จะละหมาด ฝากเงินเสร็จ ก็ไปละหมาดที่อื่นที่นีไม่มีนโยบายให้ลูกค้ามาละหมาด  วันก่อนบริษัทผมไปจัดงานที่ห้างเซ็นทรัลพระรามเก้า  ใจนึงก็คิดว่าจะไปละหมาดที่ไหนดี ไกล้ที่สุดน่าจะเป็นมัสยิดห้วยขวางที่อยู่หลังห้างจัสโก้  แต่ลองถามยามดูดีกว่าเพื่อที่นี้น่าจะมีห้องละหมาด จะได้ไม่ต้องไปไกล ยามบอกว่าที่ธนาคารอิสลามมีห้องละหมาดผมรู้สึกดีกับธนาคารขึ้นมาเลยเพราะก่อนหน้านั้นหลายเดือนก่อนผมกำลังมองหาที่ละหมาด ก็คิดว่ายังงัยธนาคารอิสลามสำนักงานใหญ่น่าจะมีพื้นที่ไว้บริการ เวลาละหมาดของผมก็ใกล้จะหมด ได้คำตอบจากพนักงาน ที่แต่ชุดฟอร์มธนาคาร แล้วแถบจะหมดแรง มีแต่ไม่ให้บุคคลภายนอกใช้คะ...
จากอโศกต้องไปละหมาดที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ แต่วันนี้คำตอบที่ได้ยินกับยามของห้างทำให้ใจชื้นขึ้นมาบ้าง อืมธนาคารนั้นให้ความความสำคัญกับลูกค้ามุสลิมแล้ว โว้ย... ไว้รอจังหวะที่ว่างสักแป็บแล้วจะเดินขึ้นไปละหมาด ที่ธนาคาร ตอนนั้นถ้าจำไม่ผิดน่าจะใกล้หกโมงเย็น เลยตัดสินใจเดินไปที่ธนาคาร เพื่อจะละหมาด  ไปถึงมีคนคอยเปิดประตูต้อนรับ ดีจัง ซ้ายมือเฉียงไปที่สิบเอ็ดนาฬิกาน่าจะเป็นห้องผู้จัดการสาขาห้องกระจกสี่เหลียม ที่ใหญ่ไม่มากแต่ก็นับว่าเป็นห้องทำงานที่ใหญ่พอสมควรห้องหนึ่ง
ตรงหน้าเป็นเคาน์เตอร์มีพนักงานชายหญิงนั่ง คอยทำหน้าที่ผมรีบเดินไปถามว่าห้องละหมาดอยู่ไหนครับ พนักงานชายหญิงคู่นั้นมองหน้ากันเหมือกำลังพูดด้วยภาษาดวงตาก่อนที่ผู้ชายจะบอกกับผมว่าที่นี้ไม่มีห้องละหมาด !@#$%^%$&*ผมรู้สึกหน้าชาเหมือนโดนตบแรงๆ ทำอะไรไม่ถูก มองจ้องไปที่ห้องผู้จัดการอีกครั้ง อยากจะตะโกนบอกว่า แบ่งห้องออกมานิดไว้ทำเป็นห้องละหมาดไม่ได้หรอแต่ก็พูดไม่ออก  เดินออกมาเหมือนคนผิดหวังจากคนรักที่ไม่ให้เข้าบ้าน นั้นเป็นความรู้สึกที่ผมได้รับจากธนาคารอิสลาม
ผมลองไล่ชื่อผู้บริหารดูไม่รู้ว่ามีมุสลิมกี่ท่าน หรือใครที่มีหน้าทีโดยตรงก็ขอฝากกับท่านด้วยว่าเปิดให้มีพื้นที่ได้ทำการละหมาดตามสาขาย่อยต่างๆเถอะอันไหนไม่ได้จริงๆก็ไม่เป็นไร หรือว่าท่านไม่ให้ความสำคัญกลับลูกค้าที่เป็นมุสลิมก็บอกไปเลยดังๆ เอาว์ไอ้พวกโง่ทั้งหลาย มาทำธุรกรรมกับธนาคารให้เสร็จไวไวธนาคารจะได้มีกำไรเยอะๆแล้วมึงจะไปละหมาดที่ไหนก็ตามใจ บอกไปเลยครับหรือติดป้ายก็ได้ว่าที่นี้ไม่มีที่ละหมาดจะได้รู้และทำใจเอาไว้....
การบริหารงานดี กลับการบริหารงานเป็นมันคนระอย่าง การบริหารงานเป็นกลับมีอิสลามในการบริหารมันก็คนละอย่าง  มันอยู่ที่คุณเลือกว่าจะเอาอิสลามมาเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารหรือเอากำไรอย่างเดียวในการบริหารคำตอบอยู่ที่คุณธนาคารอิสลาม