แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2555
มีผู้ให้มุมมองและประเมินอัตราการขยายตัวไว้อย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า
เศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นจากการฟื้นฟูหลังน้ำลด
ที่จะมีผลต่อการขยายตัวด้านอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก ทั้งจากการอุปโภค บริโภค
และการลงทุน อีกทั้งยังได้รับแรงสนับสนุนการใช้จ่าย การลงทุนของรัฐบาล
ที่จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
การชี้วัดเศรษฐกิจนั้นมีวิธีการวัดภาพสะท้อนจากหลายวิธี
เช่น ดูจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การบริโภคและการลงทุน ยอดขายปลีก
ตัวเลขการว่างงาน และการสร้างบ้านที่อยู่อาศัย....
ตัวเลขการว่างงานก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญในการวัดค่าเศรษฐกิจ
จากข้อมูลของสานักงานสถิติแห่งชาติ ในปี54
ไตรมาสที่ 3พบว่า มีตำแหน่งงานว่าง 101,439 อัตรา มี ผู้สมัครงาน 152,726
คน กรุงเทพมหานครมีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 1.07 รองลงมาได้แก่ ภาคกลางร้อยละ
0.72 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.68 ภาคเหนือร้อยละ 0.55 และภาคใต้ร้อยละ 0.50
ตามลาดับ
ผลจากการสำรวจธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ
ทุกๆ2ปี จากสานักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มีสถานประกอบการธุรกิจฯ
ทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น1.6 ล้านแห่ง โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประมาณร้อยละ 25.1 และเป็นสถานประกอบการที่มีคนทำ งาน 1-15 คน
ในสัดส่วนสูงที่สุดถึงร้อยละ 98.4และการประกอบธุรกิจที่สำคัญ
ได้แก่การขายปลีก(ยกเวนยานยนต์และรถจักรยานยนต์) รวมทั้งการซ้อมแซมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน
ประมาณร้อยละ48.1สำหรับคนทำงานในสถานประกอบการธุรกิจทั่วประเทศมีทั้งสิ้นประมาณ5.0
ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างหรือมีการจ้างงานประมาณ2.8
ล้านคนโดยได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ย139,757
บาทต่อคนต่อปีส่วนมูลค้ารายรับ ค่าใช้จ่าย และมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการรวมทั้งสิ้นประมาณ7.6
ล้านล้านบาท
ปี 2554
เป็นปีที่ตลาดแรงงานมีความตื่นตัวมากในประเทศไทย
และยังแฝงด้วยความท้าทายในหลายแง่มุม ทำให้ในปีนี้ ตลาดแรงงาน เกิดตำแหน่งงานใหม่
พร้อมการจ้างงานในตำแหน่งต่างๆเพิ่มมากขึ้น และเพื่อการย่างเข้าสู่ปี 2555
อย่างมั่นคง ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ องค์กรต่างๆ ยังคงมุ่งมั่นในการมองหา“คนที่ใช่” ให้กับองค์กร
และในทางตรงกันข้ามทางผู้สมัครก็มองหางานที่ตอบโจทย์ความต้องการใน การทำงานเช่นกัน
ซึ่งงานวิจัยจากอเด็คโก้
จะช่วยให้องค์กรต่างๆได้เห็นถึงมุมมองในความต้องการของคนทำงานได้ดียิ่งขึ้น
จากผลการสำรวจระยะเวลาทำงานโดยเฉลี่ยในการทำงานกับบริษัทหนึ่งๆกลุ่มคนทำงานส่วนใหญ่
ให้ความเห็นว่าไม่เกิน 5 ปี สูงที่สุดถึง 38% รองลงมาคือ มากกว่า5 ปี 34% และ
เพียงร้อยละ 1 ที่ให้ความเห็นว่าทำงานโดยเฉลี่ยเป็นเวลานาน 1 ปี ซึ่งปัจจัยแปรผัน
ตรงระหว่างกลุ่มคนทำงานกับระยะเวลาในการทำงาน ขึ้นอยู่กับเนื้อ งานและผลตอบแทน
สำหรับช่วงเวลาที่คนทำงานสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดีที่สุด
กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าช่วงเช้า(9.00-11.00 น.) 60%
เป็นช่วงเวลาที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ช่วง บ่าย (14.00-16.00
น.) 18% ช่วงเวลาต่อมามีความถี่เท่ากันที่ 9% คือ ช่วงกลางวัน (11.00-14.00
น.)และช่วงเย็น (16.00-18.00 น.)
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ทำงานได้อย่างมีความสุขที่สุด กลุ่มคนทำงาน ส่วนใหญ่
ให้ความเห็นว่าบรรยากาศในการทำงาน 48% เป็นปัจจัย ที่ส่งเสริมให้ทำงานได้อย่างมีความสุขที่สุด
รองลงมาคือ เพื่อนร่วม งาน 35% และน้อยกว่า3% คือ หัวหน้างาน และวัฒนธรรม/นโยบาย
องค์กร
จากผลสำรวจบริษัทจะเลือกรับคนเข้าทำงาน
คัดเลือกจากความรู้ความสามารถเป็นหลัก สูงถึง
50% และเหตุผล รองลงมา33% เลือกรับคนเข้าทำงานจากทัศนคติที่มีต่อ การทำงานและ 12%
คือความเข้ากันได้กับวัฒนธรรม องค์กร
ความคาดหวังต่อระยะเวลาการทำงานกับบริษัท
43% ตอบว่าอย่างน้อย 3 ปี รองลงมา25%
ตอบว่าอย่างน้อย 5 ปีและ 9% จากแบบสอบถามพบว่าแต่ละ
บริษัทคาดหวังว่าผู้สมัครงานควรจะมีความภักดีกับ
องค์กรและทำงานกับบริษัทเป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป
ความเห็นเรื่องการเสนอเงินเดือนสำหรับการรับ
พนักงานใหม่ (%ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับงาน เดิม)
93 % จากผลสำรวจเชื่อว่าในปี 2555 สามารถเสนอ
ให้ 5-10 % และมีเพียงแค่ 6% ที่ให้ความเห็นว่าสามารถ เพิ่มขึ้นได้ 10% ขึ้นไป
ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงาน
ทำงาน ได้อย่าง มี ประสิทธิภาพ
36%จากผู้ทำสำรวจให้ความเห็นว่าลักษณะงานที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รองลงมา21%มองว่าเงินเดือนและผลตอบแทนเป็นสิ่งสำคัญ
อันดับต่อมาเพียง16%เชื่อว่าปัจจัยที่สนันสนุนให้พนักงานทำงานอย่างมี
ประสิทธิภาพคือเพื่อนร่วมงาน
ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานทำงานได้อย่างมีความสุข
เชื่อว่าบรรยากาศในการทำงาน 64% รองลงมาคือ
เพื่อน ร่วมงาน 22% และเพียงแค่ 7% เชื่อว่าเงินเดือนและผล
ตอบแทนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานทำงานได้อย่างมี ความสุข
นางสาวธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศ
กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย กล่าวว่า จากข้อมูลของบริษัทอเด็คโก้ ตลาดแรงงานในปี
54 อัตราการเติบโตมากกว่า 20%
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ส่วนในกลุ่มของพนักงานชั่วคราว หรือสัญญาจ้างมีอัตรการเติบโตมากกว่า 30%
โดยประมาณ
คาดว่าปี พ.ศ.2555
ตลาดแรงงานน่าจะมีอัตราการเติบโตขึ้นอีก เนื่องจากความต้องการด้านแรงงาน ณ
ปัจจุบันถึงแม้จะเกิดวิกฤตการณ์น้ำท่วม แต่ความต้องการด้านแรงงานยังไม่ลดลง
ส่วนแรงงานที่เกิดใหม่จะเป็นในส่วนของงานดีไซน์ งานติดต่อราชการ
งานด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์outsourcing ต้องการเพิ่มขึ้น Talent shortage skill เป็นคนกำหนดราคาตลาด
ส่วนงานที่ยังคงเป็นที่ต้องการในอีก 1ถึง 5 ปีข้างหน้า
คาดว่าจะเป็นในส่วนของงานขาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ช่วยหารายได้เข้าองค์กร
ตำแหน่งอื่นๆจะเป็น ไอที วิศว และพนักงานสนับสนุนอื่นๆเช่น บัญชี บุคคล ธุรการ
ส่วนงานที่อาจจะชะลอตัวลงบ้างอาจเป็นในส่วนของเทคโนโลยีที่ตกยุค ทั้งหมด
ทักษะยังเป็นที่ต้องการ
ไม่วาจะเป็นทักษะด้านเทคโนโลยีบางประเภท เช่น Digital marketing, Software ที่เปลี่ยนแปลง, Telecommunicaiton, Network ฯลฯ และทักษะบางส่วนที่ไม่เป็นที่นิยม
หรือเลิกใช้แล้ว ส่วนในภาคอุตสาหกรรมบางประเภทที่นำเครื่องจักรมาทดแทนคนทำงาน
ดังนั้น ความต้องการคนทำงานไร้ทักษะจะลดลง และต้องการคนทำงานที่เป็นแบบ Semi-skill ที่มาช่วยoperate เครื่องจักรเพิ่มขึ้น
จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้
อาจทำให้มีการย้ายฐานการผลิตจากทางอยุธยา ปทุมธานีมายังฝั่งตะวันออกมากขึ้น
ทำให้เกิดการโยกย้ายแรงงานตามมาด้วย ทั้งนี้
แนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานหลังเหตุการณ์ครั้งนี้ นอกจากการโยกย้ายฐานแรงงานไปสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกทั้งแบบชั่วคราวและถาวรแล้ว
อาจทำให้เกิดความต้องการแรงงานมากขึ้นในสายงานเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจ
ตัวอย่างเช่นงานสายอุตสาหกรรม วิศวกรรม ไอที สายพัฒนาธุรกิจ งานทรัพยากรบุคคล
งานบัญชี-การเงิน งานขาย และงานการตลาด และสิ่งที่ยังต้องจับตามองต่อไปคือนโยบายการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของภาครัฐหลังจากน้ำท่วม
ที่อาจส่งผลให้แรงงานในกลุ่มชนชั้นแรงงานเกิดความสั่งคลอน
และอาจยังส่งผลให้เกิดการปรับโครงสร้างเงินเดือนขององค์กร
ทำให้องค์กรต่างๆต้องเตรียมพร้อมวางแผนในการรับมือกับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้
เรากำลังก้าวเข้าสู่ปี 2555
ซึ่งคนทำงานจะมีการวางแผนอาชีพที่ดี
และมองหาสิ่งที่ตอบโจทย์ด้านอาชีพของพวกเค้ามากที่สุด
รวมถึงข้อมูลที่ได้จากงานวิจัย ยังแสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานในอีก 1 ปีข้างหน้า
จะเกิดการแข่งขันสูงในการเฟ้นหา “คนที่ใช่” ให้กับองค์กร
เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีศักยภาพสูงที่สุด ในทางกลับกัน
หากจะให้กล่าวถึงองค์กรในเมืองไทย ส่วนใหญ่จะต้องรู้ถึงความต้องการขององค์กร
และสิ่งที่พวกเขาต้องสร้างให้กับพนักงาน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ใหญ่
หรือเล็กในตลาด ควรเข้าใจถึงความต้องการของคนทำงานว่าต้องการทำงานกับองค์กรที่สร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้กับพวกเขา
สำหรับปี 2012
ดิฉันคาดหวังว่าองค์กรต่างๆในเมืองไทยจะพัฒนาไปเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยความสุขและความสำเร็จนางสาวธิดารัตน์
กาญจนวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
ประสบการณ์ในการทำงานยังเป็นสิ่งที่องค์กรต่างๆส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญมากที่สุด
ทัศนะคติที่ดีต่องานที่ทำและผู้ร่วมงาน เป็นสิ่งที่ทำให้การทำงานมีความสุข
ในแต่ละวันมนุษย์หมดเวลาไปกับการทำงานถึงหนึ่งในสามของวัน งานบางงานอาจต้องใช้ทั้งประสบการณ์และความสามารถ
งานบางงานต้องใช้ความคิดและชั้นเชิงในการบริหาร งานบางงานใช้แรงกายอย่างเดียว งานสร้างความสำเร็จในชีวิตให้กับคน.... งานสร้างรายได้ผลตอบแทน.... งานเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต
วันนี้คุณเลือกงานที่ทำหรือว่างานในองค์กรนั้นเลือกคุณให้ทำงาน