วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ช้างถูกทำร้าย สัญลักษณ์ของชาติกำลังโดนรังแก
 สำนึกรักช้างไทย…..



โดย ชินจัง






                  เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ข่าวการลักลอบฆ่าเผ่าช้างป่าเพื่อตัดเอางาดูจะเป็นข่าวที่สะเทือนขวัญของคนไทยรับปี2555ข่าวหนึ่ง เพราะช้างนั้นเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   ช้างเคยเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ร่วมทำสงครามสร้างชาติมากับบรรพบุรุษของเรา นับวันความเลวร้ายที่เกิดกับช้างไทยจะยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะกลุ่มคนที่มีความต้องการงาช้างดูจะมีความต้องการอยู่เสมอ และนอกจากเรื่องการลักลอบฆ่าช้างเพื่อตัดเอางาไปขายแล้วยังมีเรื่องการเผชิญหน้าระหว่างช้างกับชาวบ้านที่ส่อเค้าความรุนแรง  ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอันเนื่องมาจากการเผชิญหน้ากับ ช้างป่าเหล่านั้น ดูจะเป็นเรื่องที่ดังเข้าหูอยู่บ่อยครั้ง
ช้างบาดเจ็บ ช้างเร่รอน  ช้างถูฆ่า  ดูแล้วเป็นข่าวที่สะเทือนขวัญและเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข้ ช้างป่าเอเชีย ถูกจัดว่าเป็นสัตว์ป่าที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ในระดับโลก แม้จะยังคงมีรายงานการแพร่กระจายอยู่เป็นหย่อมๆในหลายพื้นที่ทั่วทั้งแนวเขตแนวตะเข็บชายแดนไทย  ทว่าประชากรของช้างป่าเอเชียก็ถูกคุกคามอย่างหนัก การลดลงของพื้นที่อยู่อาศัย การล่าและปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง กลายเป็นปัญหาสำคัญต่อวงการอนุรักษ์ในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้การพัฒนาและ ความต้องการใช้ที่ดินขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของช้างมีขนาดเล็กลงและถูกแบ่งแยกออกเป็นหย่อมๆ ภาวะดังกล่าวทำให้คนกับช้างป่ามีโอกาสเผชิญหน้ากันมากขึ้นและปัญหาความขัดแย้งระหว่างกันก็ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น มีรายงานปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเกิดขึ้นในทุกประเทศตลอดแนวการ แพร่กระจายของช้างป่า ตั้งแต่ อินเดีย เนปาล ภูฎาน จีน บังคลาเทศ ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเชีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย ซึ่งในหลายประเทศปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งใน เรื่องของการจัดการสัตว์ป่าและพื้นที่อนุรักษ์
ในประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รายงานว่ามีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์อย่างน้อย ๒๐ แห่ง อาทิอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเอาอ่างฤาไน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เป็นต้น และมีแนวโน้มว่า จะขยายตัวและมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอนาคต การหามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างจึงเป็นความท้าทายที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการอนุรักษ์และการจัดการช้างป่าในปัจจุบัน
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างไม่ใช่เรื่องใหม่ และการที่ช้างออกมากินพืชเกษตรนั้นได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลานานแล้วทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา ถึงขนาดที่นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่มนุษย์เริ่มทำเกษตรกรรม เสียด้วยซ้ำ
 นายวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์  ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯเปิดเผยว่า สถานะการณช้างในตอนนี้ ปัจจุบันช้างเลี้ยงที่เสียชีวิตก็เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บและการเกิดอุบัติเหตุ ถ้าเกิดว่าเรานำช้างเลี้ยงมาเดินเร่ร่อนจะทำให้เกิดอุบัติเหตุและอาจจะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ซึ่งจะเป็นข่าวมาโดยตลอด   จำนวนประชากรช้างเลี้ยงและช้างป่าอดีตเรามีหลายหมื่นเชือก แต่ในปัจจุบันเรา มีอยู่ประมาณ5000 กว่าเชือก ช้างเลี้ยงมี ประมาณ3000เศษ และช้างป่าประมาณ2000 กว่าเชือก เนื่องจากเรามีการรณรงค์ในการอนุรักษ์ช้างขึ้น สถานการณ์ ก็ดีขึ้นเล็กน้อยแต่ก็ยังไม่ดีมากจนเป็นที่หน้าพอใจเนื่องจากว่ามันมีอัตราการตายของช้างยังมากอยู่และช้างป่าจะต้องอพยพตามแนวตะเข็บชายแดนไทยพม่า เฉพาะฉะนั้นช้างป่าที่ทางกรมอุทยานสำรวจมันก็มีประมาณ2000กว่าเชือก และจากการที่มนุษย์เข้าไปฆ่าและลักลอบเอาช้างป่าสวมเป็นช้างเลี้ยงมันน่าที่จะทำให้ช้างป่ามีจำนวนลดลงซึ่งก็น่าเป็นห่วง
ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับช้างของเรามีหลายฉบับ มีกระทรวงมหาดไทยกรมการปกครอง ที่จะคอยดูแลเรื่องของ พ.ร.บ. สาธารณะ 2482  ดูแลในเรื่องของการจดตัวรูปพรรณและก็มีของกรมปศุสัตว์นั้นก็คือ พ.ร.บ. โลกระบาดสัตว์ ซึ่งจะดูแลเรื่องของการนำช้างเข้ามาในเมือง มันมีโรคระบาดหรือเปล่ามีการเคลื่อนย้ายที่ถูกต้องไหม เพราะการเคลื่อนย้ายช้างเข้าสู่ตัวเมืองต้องมีการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์และก็จะมีกฎหมายของทางตำรวจในเรื่องของกฎหมายจราจรและก็กฎหมายของเทศกิจเอง ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดต่างๆซึ่งมีเทศบาลเทศกิจอยู่ กฎหมายต่างๆเหล่านี้มันมีบทลงโทษที่ต่ำ ทางกรุงเทพมหานครก็ออกกฎหมายใหม่มา เพื่อห้ามนำช้างเข้ากรุงเทพฯ ได้ปรับปรุงบทลงโทษให้สูงขึ้นมีการจำคุกมากขึ้นแต่ก็ทำได้ที่กรุงเทพฯ  แต่ทางจังหวัดอื่นก็ไม่ได้มีการปรับแก้ทางกฎหมายทางเทศบัญญัติ ช้างก็จะเดินเร่รอนในกรุงเทพน้อยลงแต่ว่าจะไปทางตามจังหวัดต่างๆมากขึ้น
อนาคตของช้างมันก็อยู่ที่พวกเรา คนไทยทุกคนต้องช่วยกันและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเองก็ได้เห็นถึงปัญหาเรื่องช้างเราเองก็หาแหล่งงานให้ควาญช้าง แต่ว่าการดำเนินการก็ต้องทำควบคู่กับการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับช้างด้วย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับช้างปัจจุบันมันมีหลายฉบับ ตามความเห็นของผม มันควรจะรวบรวมมาเป็นฉบับเดียวเป็นพ.ร.บ.สัตว์ สัญลักษณ์ ของชาติก็ได้ ก็คือคลุมหมดเลยมีบทลงโทษให้หนักขึ้นและมีกองทุนต่างๆเพื่อที่จะช่วยเหลือช้างได้ สุดท้ายยากจะเชิญชวนคนไทยทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ช้างให้อยู่คู่คนไทยตลอดไปนายวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์ กล่าวทิ้งท้าย
ประเทศไทย นับได้ว่าโชคดีที่ช้างเป็นสัตว์ป่าที่มีคุณค่าสูงยิ่งในเชิงวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ทำ ให้คนทั่วไปมีความรู้สึกในเชิงบวกต่อช้าง อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่ช้างเข้ามากินหรือทำลายพืชผลทาง การเกษตร จากปัญหาความรุนแรงของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ในแง่ของนักอนุรักษ์หรือผู้จัดการพื้นที่อนุรักษ์ แล้วจะเห็นได้ว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการหามาตรการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถอยู่ร่วมกับช้างได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือทำอย่างไรให้ เกษตรกรสามารถอยู่ร่วมกับช้างได้อย่างยั่งยืน บทสรุปหนึ่งที่ได้จากการศึกษาปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าคือ ตราบใดที่คนและช้างป่ายังอาศัยและหากินอยู่ในพื้นที่ที่สามารถใช้ได้ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทุกๆวิธีการที่ดำเนินการจะเป็นเพียงแนวทางในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะ มันกลายเป็นเรื่องของลิ้นกับฟัน ที่ต้องกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา ประเด็นเดียวที่เรา ต้องคำนึงถึงต่อการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเหล่านี้กันต่อไปในอนาคต หากไม่ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ นั่นคือ เราต้อง เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน ซึ่งนั่นก็เป็นคำตอบที่ดีว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น