วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


สมองเสื่อมภัย
ที่มากับสังคมสูงวัย........

เรื่อง อดัม ชินจัง










ถ้าวันหนึ่งคุณหรือคนรอบข้างที่คุณรัก ตื่นขึ้นมาพร้อมกับการสูญเสียความทรงจำอย่างเฉียบพลัน  ความนึกคิดเปลี่ยนไป ความสามารถเปลี่ยนไป บุคลิกเปลี่ยนไป ทุกอย่างที่เป็นตัวของเราเปลี่ยนแปลงไป บางสิ่งบางอย่างที่เคยทำได้ดีที่สุด เปลี่ยนเป็นการทำไม่ได้เลย ความไร้สามารถเข้ามาแทนที่ความเก่งที่เราเคยมี
กว่า90%ที่คนรอบข้างของผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมไม่รู้ว่าคนๆนั้นกำลังป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายขึ้นในครอบครัว โรคสมองเสื่อมกำลังเป็นภัยมืดที่เข้ามาสูสังคมที่มีคนสูงวัย อย่างเงียบๆตัวเลขการเติบโตของโรคมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่น่าเป็นห่วงคือตัวเลขคนที่เป็นโรคสมองเสื่อม เริ่มมีช่วงอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ....
ภาวะสมองเสื่อม(dementia) เป็น ความผิดปกติของสมองที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยมีโรคหลายชนิด ที่เป็นสาเหตุของกลุ่ม อาการนี้ โรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมเหตุหลอดเลือด เนื่องจากสัดส่วนประชากรสูงอายุที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ภาวะนี้จึงมีความสำคัญมากขึ้นเพราะก่อให้เกิดความเสียหายต่อครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจของชาติดังนั้นความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และรักษาโรคนี้จึงมีความสำคัญ อย่างยิ่ง 
          โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการสมองเสื่อม โรคนี้เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง โดยเชื่อว่า น่าจะเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วม กับปัจจัยสิ่งแวดล้อม  โรคนี้เพิ่ม ขึ้น เรื่อย ๆ ตามอายุของผู้ป่วยโดยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 5ปีของอายุที่เพิ่มขึ้นจาก  60ปี ในประเทศไทยเองมีการศึกษาถึง ความชุกของภาวะสมองเสื่อมในชุมชนโดยพบประมาณ9.88 รายต่อประชากร100คนที่มีอายุมากกว่า 60  ปี
 ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมักมีอาการหลักอยู่ 2 กลุ่ม คือปัญหาด้านความจำและปัญหาด้านพฤติกรรมหรืออารมณ์
ผู้ป่วยในระยะแรกอาจไม่สังเกตว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น  ผู้ป่วยมักมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตนเองเริ่มมีปัญหาด้านความจำจนกระทั่งเกิด อาการเฉียบพลัน ให้เห็นว่ามีความผิด ปกติ รุนแรงขึ้น เช่น หลงทาง เกิดอุบัติเหตุ ญาติสงสัยว่าจะเป็น โรคนี้ หรือมีอาการสับสนเฉียบพลันหลังป่วยด้วยโรคอื่น หรือเกิดหลังผ่าตัด ฯลฯ
ภาวะของสมองที่ เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ จนมีผลต่อ สติปัญญา อารมณ์ การตัดสินใจ การดำเนินชีวิต ประจำวัน อาชีพและสังคมในที่สุด ในอดีต เรามักเชื่อกันว่า อาการหลงลืมในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องปกติของคนที่มีอายุมากขึ้น เป็นการหลงลืมตามวัยยิ่งมีอายุมากขึ้น ก็จะยิ่งหลงมากขึ้น แต่ความเชื่อดังกล่าวไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด ยังมีผู้ป่วยอีกส่วนที่มีอาการสมองเสื่อม ซึ่งเกิดจากทำงานของสมองใหญ่ผิดปกติ ทำให้มีผลต่อการประกอบกิจวัตรประจำวัน รวมทั้งพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์  
พ.ญ .สิรินทร ศิริกาญจน นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม กล่าวถึงภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยว่า เรามีผู้สูงอายุประมาณ 10 เปอร์เซ็นกว่า เมื่อไรก็ตามที่ผู้สูงอายุเกินกว่า10 เปอร์เซ็น เราเรียกว่าสังคมนั้นเป็นสังคมผู้สูงวัย ปัจจุบันเรามีประชากรซัก 60 กว่าล้าน คน ผู้สูงอายุก็มีประมาณ 6-7 ล้าน เรามีคนที่มีความสามารถทางสมองที่เปลี่ยนไปของผู้สูงอายุ ประมาณ10 เปอร์เซ็น ของผู้สูงอายุ จาก6 ล้านกว่าคน ของผู้สูงอายุ ก็มีประมาณ 600.000 กว่าคน ถ้าถามว่า หกแสนกว่าคนต้องป่วยไหม ถ้าคำนวณง่ายๆอย่างน้อยก็สามแสนคนขึ้นไป
สาเหตุที่เกิดโรค
ถ้าจะตอบแบบให้ง่ายๆก็คือมันเป็นโรคที่เกิดขึ้นในสมอง เสื่อมสลายลง กลุ่มที่มันเสื่อมเราเองก็ไม่ทราบว่ามันเกิดอะไรขึ้น กลุ่มนี้จะเกิดทางตะวันตก มาก โรคนี้ที่เรารู้จักกันดีที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ ภาษาหมอเรียกว่าโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของสมอง เริ่มต้นมันอยู่ในสมองตัวเนื้อสมองเองมันเสียไป ที่จริงในกลุ่มนี้ยังมีโรคอื่นๆอีกมากมายที่คุณๆไม่คุ้นชื่อ ลักษณะโรคทางเทคนิคก็แตกต่างกันออกไป อีกกลุ่มหนึ่งที่เจอก็คือเป็นเรื่องอื่นๆนอกสมองแล้วทำให้สมองเสียหายไป อันที่เจอบ่อยที่สุดก็คือ หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองมีความบกพร้อง เราเรียกสมองเสื่อมที่เกิดจากหลอดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ เจอในคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดมาก กลุ่มนี้ก็จะมีหลอดเลือดตีบ เช่นตีบที่หัวใจ ตีบที่สมอง ถ้าไปโดนที่เรื่องของความรู้ความจำความสามารถคนไข้อาจเกิดอาการสมองเสื่อมได้ ในตะวันตกเราพบโรคอัลไซเมอร์มากกว่าหลอดเลือด ส่วนทางตะวันออกเราพบปัญหากล่ำกึ่งกัน ระหว่างอัลไซเมอร์กับหลอดเลือด
จริงๆแล้วเรามีสังคมที่แก่ลง คือเรามีคนสูงอายุมากขึ้น คือโรคมันมีอยู่แล้วมันอาจพุดขึ้นมาตอนอายุ 70-80  อันนี้ก็เป็นเพราะสังคมสูงวัยขึ้น ส่วนเรื่องของหลอดเลือดก็มีเพราะชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราใช้ชีวิตต่างออกไป ลองคิดดูสมัยก่อนกินข้าวเสร็จกินน้ำเปล่าอย่างเดียว ต่อมาเราก็มีน้ำอัดลมมีน้ำผลไม้ปั่น เราได้น้ำตาลเข้าไปเยอะ วิถีการกินเราเปลี่ยนไป ส่งผลต่อหลอดเลือด อาจารย์คิดว่าต่อไปเราก็อาจเจอคนที่เป็นสมองเสื่อมในอายุน้อยลง เราต้องปรับวิธีการกินของเรา อ่อนหวาน อย่ากินหวานมาก อย่ากันของมันๆเยอะ ต้องกินข้าวกินผักกินเนื้อสัตว์ปานกลางกินน้ำมันน้อยๆ แล้วของหวานก็กินพอหอมปากหอมคอ พอ รู้จักกิน และออกกำลังกาย
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนใกล้ตัวเราเริ่มมีภาวะสมองเสื่อมแล้ว
มันมีหลายแบบ หลายครั้งคนไข้กลุ่มหนึ่ง ก็จะมาแบบว่าพูดซ้ำๆหรือเล่าเรื่องซ้ำๆเดิมๆที่ตัวเองเป็นอยู่ เรื่องเดิมเรื่องเดียว พูดซ้ำๆอย่างเดิมอันนี้ผิดปกติแล้ว อาจจะยังไม่เห็นความเสื่อมอย่างชัดเจน หรือเกิดเหตุการณ์อะไรบางอย่างเช่น ขับรถชนอะไรมา กลับตอบไม่ได้ว่าไปทำอะไรมา คือเรื่องอะไรที่น่าจะจำได้กลับจำไม่ได้ อย่างนี้มันเป็นภาวะความเสี่ยงที่เป็นโรคความจำเสื่อมแล้ว
จากประสบการณ์ของคุณ คุณนวลศรี อนันตกูล ที่ดูแลพี่สาวที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเล่าประสบการณ์ว่า พี่สาวป่วยเป็นโรคนี้มาตั้งแต่อายุ 52 ตอนนี้63  ตอนนั้นยังไม่ได้สนใจว่าผิดปกติ พี่สาวไปซื้อกับข้าวแล้วลืมเอากลับมา คิดว่าเป็นการลืมแบบผู้สูงอายุ ทั่วไป  ตอนหลังลืมสุดๆ แกเป็นคนขับรถเก่งมาก แต่ขับรถไม่ได้เลย ไม่ใช้ว่าขับรถไม่ได้อย่างเดียวแต่ไม่ทราบว่ากำลังขับรถ แล้วก็ไม่ทราบว่าอยู่บนถนน ไม่ทราบว่าจะไปไหน ไม่ทราบหมดทุกอย่างเลย และอีกอย่างพี่สาวเป็นคนทำขนมเค้กเก่ง แต่ทำไม่ได้เลย แกลืมมาก ความสามารถลดลง
ส่วนคุณ แม่ทัพ ต. สุวรรณ ที่ดูแลคุณแม่ที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม กล่าวว่า จริงๆทุกๆ6เดือน มันมีอะไรใหม่ๆตลอด เหมือนกับความรู้ความเข้าใจความสามารถเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่โชคดีที่ทุกวันนี้ท่านยังเดินได้ เคียวข้าวได้ แต่เรื่อง พูด เขียนหนังสือนั้นหายไป ก่อนหน้านี้เราไม่คอยได้รับความร่วมมือจาก การทานอาหารเท่าไหร่ จะคล้ายเด็กๆ กินสี่ห้าคำแรก ตอนหิว พอมีอาหารลงไปในท้อง ก็หันหน้าหนีบ้างลุกเดินหนีบ้าง แต่วันนี้ก็ดีขึ้น อาการจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มีอะไรแปลกๆให้เราได้แก้เรื่อยๆ อย่างที่อาจารย์บอกคนเป็นโรคนี้จะทำอะไรไม่มีเหตุมีผล เวลาเดินก็จะเดินจนหน้าติดกำแพงถึงจะหยุดก็มี มีอยู่คืนหนึ่งแกลุกขึ้นมาเดินแล้วก็ไปล้มก้นกระแทก ทำให้กระดูสันหลังทรุดไปสองข้อ เราไม่รู้เรื่อง คนที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเราต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
รายงานขององค์การโรคอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ(Alzheimer’Disease International: ADI) ปี พ.ศ.2553 ระบุว่ามีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลกมากกว่า 35 ล้านคน อยู่ในเอเชียอาคเนย์ 2.4 ล้านคน ในประเทศไทยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งทำงานสำรวจในประชากรโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่4 ในปี พ.ศ.2551-2552 จำนวนทั้งสิน 21,960 คน มีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จำนวน 44%  หรือ 9,720 คน พบว่า ผู้สูงอายุ ที่อายุ 60ปีขึ้นไป มีภาวะสมองเสื่อม 12.4% โดยในผู้ชายพบ9.8% ขณะที่ผู้หญิงอยู่ที่15.1% แบ่งตามช่วงอายุ 60-69 ปี อยู่ที่7.1% ช่วงอายุ 70-79 ปีอยู่ที่ 17.4% และอายุ80ปี ขึ้นไปพบสูงถึง32.5%  ขณะที่ข้อมูลผลการสำรวจ ประชากรสูงอายุ ปี พ.ศ.2553 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สัดส่วนผู้สูงอายุที่12% ของประชากรและประมาณว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 17 % ในปี 2563 โดยประมาณของผู้ป่วยสมอง เสื่อมทั้งประเทศมีอย่างน้อย 3 แสนคน และที่น่าตกใจคือ กว่า90% ผู้ป่วยเหล่านี้ รวมทั้งญาติและผู้ดูแลไม่ทราบว่าเป็นสมองเสื่อม

ในภาวะปัจจุบัน สิ่งที่จะมาทำลายสมองมีมากมายหลากหลายสาเหตุ ความเคียด  การใช้ยาบางชนิด อาหารการกิน และอีกหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน สังคมที่แข่งขันกันในทุกด้านทำให้การดำเนินชีวิต ของคนเมือง เปลี่ยนไป ความรีบเร่ง การกินอย่างรีบด่วน และการใช้ชีวิตอย่างไม่ดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งโรคสมองเสื่อม
โรคภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคที่ยังไม่มียาตัวไหนที่จะรักษาให้หายขาดได้ คนที่เป็นมีความทุกข์พอๆกับคนรอบข้างที่ดูแล บางคนเคยเป็นคุณพ่อที่เก่ง บางคนเคยเป็นคุณแม่ที่ดี ในอดีต ปัจจุบันความไร้สามารถเข้ามาแทนที่ คนรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้อาการคนไข้นั้นดีขึ้นหรือแย่ลง  ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่ต้องดูแลคนไข้ที่ป่วยให้เราทำความเข้าใจกับตัวเองว่า เราไม่ได้ป่วย เรากำลังดูแลคนป่วย ที่ไม่มีเหตุผลในการแสดง พฤติกรรมต่างๆ ที่ผิดเพียนไปในชีวิตประจำวัน อย่าไปถือสาอะไรกับคนป่วยโรคสมองเสื่อม  ถ้าสังคมรอบข้างคนป่วยเข้าใจ บางที่อาการที่เลวร้ายต่างๆก็อาจดีขึ้นไม่มากก็น้อย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น