วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กรุงเทพฯพูดความรัก......


คอลัมน์คุยกับกรุงเทพฯ
โดย อดัมชินจัง
                            

                        กรุงเทพฯพูดความรัก......


เดือนกุมภาพันธ์ ของกรุงเทพฯ มันเป็นเดือนที่อบอวนไปด้วยความรัก  หนุ่มสาวหลายคู่ รู้สึกอย่างนั้น.... นักการตลาด ใช้กระแสความรักในการขายสินค้า ...  นักเขียนเขียนหนังสือเกี่ยวกับความรัก...   ร้านเหล้า ผับบาร์ ล้วนมีโปรโมชั่น ด้านความรัก.... ตลาดดอกไม้ดูคึกคักเป็นพิเศษเพราะคนมอบดอกไม้แทนความรัก.... เชฟบางคนคิดเมนูอาหารให้อิงกับความรัก.... คนกวาดถนนไม่มีบทบาทในวันแห่งความรัก... ถนนบางสายในกรุงเทพฯน่าจะเป็นถนนแห่งความรักได้ ช่างภาพเวดดิ้งบางคนคิด
กรุงเทพฯเดือนกุมภาพันธ์ เป็นสีชมพู เดือนนี้กรุงเทพฯพูดเรื่องความรักและหลายคนกำลังฟัง
นักเขียนบางคนเอียน...กับความรักเพราะมันหมายถึงความรับผิดชอบต่อผลผลิตในเรื่องความรัก และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนมาเป็นการสร้างครอบครัว มันคือภาระที่อยู่บนบ่าทั้งสองข้างและหนัก นั่นคือผลของความรัก นักเขียนบางคนพูดในลำคอและยักไหล่  หนุ่มสาวมองความรักเป็นเรื่องของการสัมผัสทางร่างกาย  การโอบ กอด จูบ และการมีเซ็กส์ที่เร่าร้อนรุนแรงในแบบฉบับของคนหนุ่มสาวมันคือปัญหาที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เห็นและพยายามแก้ไขแต่ปัญหาของผู้ใหญ่คือคิดได้แค่ปีละวัน ในกลางเดือนกุมภาพันธ์....
นักเขียนอย่างนิ้วกลมเขียนหนังสือ กลุ่มคำของความรัก ผมเห็นภาพความรักมากกว่าตัวหนังสือในงานเขียนของนิ้วกลม  คนไม่โรแมนติกคือคนโรแมนติกที่ไม่กล้าแสดงออก นิ้วกลมบอก ผมเชื่อและหลายคนในกรุงเทพฯไม่ได้แสดงออกในเรื่องของความรัก แต่เป็นคนโรแมนติก  พ่อค้าในตลาดสดตะโกนสั่งเมียเป็นภาษาตลาด บอกลูกด้วยว่าวันนี้กลับบ้านไวหน่อยพ่ออยากกินข้าวร่วมกันเป็นครอบครัวไม่ได้กินข้าวร่วมกันมานานแล้วและอีกหลายประโยคที่ไม่เกี่ยวกับความรักแต่รู้สึกได้ว่ามี...ความรัก พ่อค้าคนนั้นโรแมนติกในความหมายของนิ้วกลมและของผม
กรุงเทพฯคิดเรื่องความรักกลางเดือนกุมภาพันธ์มันเป็นความคิดของโลกตะวันตก และครั้งหนึ่งความคิดนี้ก็เดินทางมาสู่กรุงเทพฯให้คนกรุงเทพฯได้คิดและรู้สึกว่ามันเป็นวันแห่งความรัก กรุงเทพฯคิดตามและพอใจกับกระแสแห่งความรัก โรงแรมม่านรูดหลายแห่งขอบใจกับกระแสนี้และมีของกำนัลเป็นกล้องวงจรปิด เป็นของแถมให้กับคู่รักที่ใช้บริการ เพื่อให้คนทั่วโลกได้ดูหนังสดของคนกรุง และอีกหลายๆกระแสที่กรุงเทพฯกำลังใช้ความคิดอย่างหนัก ในการสร้าง แต่บนความจริงรากเหง้าของคนกรุงกำลังมีความสำคัญน้อยกว่ากระแสหลักเหล่านั้น กรุงเทพฯเศร้าบนความร่าเริงในเดือนกุมภาพันธ์...
          กรุงเทพฯ...พูดอีกหลายร้อยประโยคและหลายคนพยายามฟัง แต่ไม่เข้าใจความหมาย บางคนตีความหมายผิด บางคนสร้างความหมายขึ้นมาใหม่ในแบบที่ตัวเองต้องการ หลายๆความหมายที่กรุงเทพฯ พูดดูน่าสนใจ ทำให้กรุงเทพฯ มีเรื่องราวมากมาย ถ้าวันหนึ่งกรุงเทพฯ หยุดพูดเรื่องราวต่างๆ วันนั้นความเงียบของกรุงเทพฯ จะทำให้เราเหงาก็เป็นได้  

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ช้างถูกทำร้าย สัญลักษณ์ของชาติกำลังโดนรังแก
 สำนึกรักช้างไทย…..



โดย ชินจัง






                  เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ข่าวการลักลอบฆ่าเผ่าช้างป่าเพื่อตัดเอางาดูจะเป็นข่าวที่สะเทือนขวัญของคนไทยรับปี2555ข่าวหนึ่ง เพราะช้างนั้นเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   ช้างเคยเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ร่วมทำสงครามสร้างชาติมากับบรรพบุรุษของเรา นับวันความเลวร้ายที่เกิดกับช้างไทยจะยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะกลุ่มคนที่มีความต้องการงาช้างดูจะมีความต้องการอยู่เสมอ และนอกจากเรื่องการลักลอบฆ่าช้างเพื่อตัดเอางาไปขายแล้วยังมีเรื่องการเผชิญหน้าระหว่างช้างกับชาวบ้านที่ส่อเค้าความรุนแรง  ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอันเนื่องมาจากการเผชิญหน้ากับ ช้างป่าเหล่านั้น ดูจะเป็นเรื่องที่ดังเข้าหูอยู่บ่อยครั้ง
ช้างบาดเจ็บ ช้างเร่รอน  ช้างถูฆ่า  ดูแล้วเป็นข่าวที่สะเทือนขวัญและเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข้ ช้างป่าเอเชีย ถูกจัดว่าเป็นสัตว์ป่าที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ในระดับโลก แม้จะยังคงมีรายงานการแพร่กระจายอยู่เป็นหย่อมๆในหลายพื้นที่ทั่วทั้งแนวเขตแนวตะเข็บชายแดนไทย  ทว่าประชากรของช้างป่าเอเชียก็ถูกคุกคามอย่างหนัก การลดลงของพื้นที่อยู่อาศัย การล่าและปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง กลายเป็นปัญหาสำคัญต่อวงการอนุรักษ์ในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้การพัฒนาและ ความต้องการใช้ที่ดินขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของช้างมีขนาดเล็กลงและถูกแบ่งแยกออกเป็นหย่อมๆ ภาวะดังกล่าวทำให้คนกับช้างป่ามีโอกาสเผชิญหน้ากันมากขึ้นและปัญหาความขัดแย้งระหว่างกันก็ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น มีรายงานปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเกิดขึ้นในทุกประเทศตลอดแนวการ แพร่กระจายของช้างป่า ตั้งแต่ อินเดีย เนปาล ภูฎาน จีน บังคลาเทศ ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเชีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย ซึ่งในหลายประเทศปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งใน เรื่องของการจัดการสัตว์ป่าและพื้นที่อนุรักษ์
ในประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รายงานว่ามีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์อย่างน้อย ๒๐ แห่ง อาทิอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเอาอ่างฤาไน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เป็นต้น และมีแนวโน้มว่า จะขยายตัวและมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอนาคต การหามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างจึงเป็นความท้าทายที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการอนุรักษ์และการจัดการช้างป่าในปัจจุบัน
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างไม่ใช่เรื่องใหม่ และการที่ช้างออกมากินพืชเกษตรนั้นได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลานานแล้วทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา ถึงขนาดที่นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่มนุษย์เริ่มทำเกษตรกรรม เสียด้วยซ้ำ
 นายวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์  ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯเปิดเผยว่า สถานะการณช้างในตอนนี้ ปัจจุบันช้างเลี้ยงที่เสียชีวิตก็เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บและการเกิดอุบัติเหตุ ถ้าเกิดว่าเรานำช้างเลี้ยงมาเดินเร่ร่อนจะทำให้เกิดอุบัติเหตุและอาจจะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ซึ่งจะเป็นข่าวมาโดยตลอด   จำนวนประชากรช้างเลี้ยงและช้างป่าอดีตเรามีหลายหมื่นเชือก แต่ในปัจจุบันเรา มีอยู่ประมาณ5000 กว่าเชือก ช้างเลี้ยงมี ประมาณ3000เศษ และช้างป่าประมาณ2000 กว่าเชือก เนื่องจากเรามีการรณรงค์ในการอนุรักษ์ช้างขึ้น สถานการณ์ ก็ดีขึ้นเล็กน้อยแต่ก็ยังไม่ดีมากจนเป็นที่หน้าพอใจเนื่องจากว่ามันมีอัตราการตายของช้างยังมากอยู่และช้างป่าจะต้องอพยพตามแนวตะเข็บชายแดนไทยพม่า เฉพาะฉะนั้นช้างป่าที่ทางกรมอุทยานสำรวจมันก็มีประมาณ2000กว่าเชือก และจากการที่มนุษย์เข้าไปฆ่าและลักลอบเอาช้างป่าสวมเป็นช้างเลี้ยงมันน่าที่จะทำให้ช้างป่ามีจำนวนลดลงซึ่งก็น่าเป็นห่วง
ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับช้างของเรามีหลายฉบับ มีกระทรวงมหาดไทยกรมการปกครอง ที่จะคอยดูแลเรื่องของ พ.ร.บ. สาธารณะ 2482  ดูแลในเรื่องของการจดตัวรูปพรรณและก็มีของกรมปศุสัตว์นั้นก็คือ พ.ร.บ. โลกระบาดสัตว์ ซึ่งจะดูแลเรื่องของการนำช้างเข้ามาในเมือง มันมีโรคระบาดหรือเปล่ามีการเคลื่อนย้ายที่ถูกต้องไหม เพราะการเคลื่อนย้ายช้างเข้าสู่ตัวเมืองต้องมีการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์และก็จะมีกฎหมายของทางตำรวจในเรื่องของกฎหมายจราจรและก็กฎหมายของเทศกิจเอง ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดต่างๆซึ่งมีเทศบาลเทศกิจอยู่ กฎหมายต่างๆเหล่านี้มันมีบทลงโทษที่ต่ำ ทางกรุงเทพมหานครก็ออกกฎหมายใหม่มา เพื่อห้ามนำช้างเข้ากรุงเทพฯ ได้ปรับปรุงบทลงโทษให้สูงขึ้นมีการจำคุกมากขึ้นแต่ก็ทำได้ที่กรุงเทพฯ  แต่ทางจังหวัดอื่นก็ไม่ได้มีการปรับแก้ทางกฎหมายทางเทศบัญญัติ ช้างก็จะเดินเร่รอนในกรุงเทพน้อยลงแต่ว่าจะไปทางตามจังหวัดต่างๆมากขึ้น
อนาคตของช้างมันก็อยู่ที่พวกเรา คนไทยทุกคนต้องช่วยกันและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเองก็ได้เห็นถึงปัญหาเรื่องช้างเราเองก็หาแหล่งงานให้ควาญช้าง แต่ว่าการดำเนินการก็ต้องทำควบคู่กับการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับช้างด้วย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับช้างปัจจุบันมันมีหลายฉบับ ตามความเห็นของผม มันควรจะรวบรวมมาเป็นฉบับเดียวเป็นพ.ร.บ.สัตว์ สัญลักษณ์ ของชาติก็ได้ ก็คือคลุมหมดเลยมีบทลงโทษให้หนักขึ้นและมีกองทุนต่างๆเพื่อที่จะช่วยเหลือช้างได้ สุดท้ายยากจะเชิญชวนคนไทยทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ช้างให้อยู่คู่คนไทยตลอดไปนายวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์ กล่าวทิ้งท้าย
ประเทศไทย นับได้ว่าโชคดีที่ช้างเป็นสัตว์ป่าที่มีคุณค่าสูงยิ่งในเชิงวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ทำ ให้คนทั่วไปมีความรู้สึกในเชิงบวกต่อช้าง อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่ช้างเข้ามากินหรือทำลายพืชผลทาง การเกษตร จากปัญหาความรุนแรงของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ในแง่ของนักอนุรักษ์หรือผู้จัดการพื้นที่อนุรักษ์ แล้วจะเห็นได้ว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการหามาตรการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถอยู่ร่วมกับช้างได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือทำอย่างไรให้ เกษตรกรสามารถอยู่ร่วมกับช้างได้อย่างยั่งยืน บทสรุปหนึ่งที่ได้จากการศึกษาปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าคือ ตราบใดที่คนและช้างป่ายังอาศัยและหากินอยู่ในพื้นที่ที่สามารถใช้ได้ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทุกๆวิธีการที่ดำเนินการจะเป็นเพียงแนวทางในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะ มันกลายเป็นเรื่องของลิ้นกับฟัน ที่ต้องกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา ประเด็นเดียวที่เรา ต้องคำนึงถึงต่อการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเหล่านี้กันต่อไปในอนาคต หากไม่ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ นั่นคือ เราต้อง เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน ซึ่งนั่นก็เป็นคำตอบที่ดีว่า

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


คอลัมน์คุยกับกรุงเทพฯ
โดย อดัมชินจัง
                                                 


                                         กรุงเทพฯของใคร......



           เราเห็นความงามไม่เท่ากัน คนเราต่างกันที่ความคิดและความรู้สึก..... ผมเปิดประโยคสนทนากับเพื่อนหนุ่ม มันเป็นประโยคสนทนาสั้นๆระหว่างเพื่อนกับเพื่อน เพื่อนผู้พิสมัยความงามแบบฉาบฉวยจับต้องสัมผัสได้เพียงภายนอกที่ได้พบเห็น และชอบตัดสินสิ่งที่เห็น ว่าดีหรือเลว  ชอบหรือรังเกียจ สวยงามหรือสกปรก  มันเป็นประโยคสนทนาเริ่มต้นและเป็นประโยคจบในคราวเดียวกัน ความเงียบเข้ามากั้นระหว่างเรา ความคิดกำลังทำงานในการรับรู้ผ่านสายตาที่บอกถึงความงามของเราไม่เท่ากัน ในการมองสังคมและการตัดสินตามความคิดเพียงฝ่ายเดียว และแคบ
พ.ศ.2555...  กรุงเทพฯของคนเก็บขยะ...เป็นการทำงานบนซากข้าวแกงเน่าบูด คราบเสลด ขี้บุหรี่  และสิ่งของไร้ค่าของคนเมือง มันสร้างอาชีพได้ เสียงของคนเก็บขยะบอกกับตัวเอง ทุกที่ล้วนมีขยะผมเห็นขุมทรัพย์จากกองขยะ ถ้าโชคดี วันนี้คงได้ตุ๊กตาแขนหักไปฝากไอ้หนูแดง...  กรุงเทพฯของคนขับรถแท็กซี่เป็นการทำงานบนสายตาที่ว่องไวเหมือนเหยี่ยวหลังพวงมาลัยในการรับผู้โดยสายและขาที่คอยเยียบหรือถอนคันเร่ง เป็นเรื่องปกติถ้าผมจะหักพวงมาลัยรับผู้โดยสารโดยลืมมองรถที่ตามมา ประการต่อมาล้อรถต้องเล็กเพื่อรอบมิเตอร์จะได้เพิ่มเร็วขึ้น มันเป็นการทำงานแข่งกับเวลา เวลากะของผมมันหมายถึงเงินค่าเช่ารถ  ค่าข้าว ค่าบุหรี่ และลูกเมียที่คอยสวดมนต์ว่าวันนี้พ่อคงโชคดีไม่โดนโจนปล้นเวลาและชีวิต...กรุงเทพฯของคนขายน้ำอ้อยเป็นการตัดพ้อต่อโชคชะตาที่ต้องมาเจอกับเทศกิจในเวลางาน   มันไม่ให้ผมขาย มันจับและปรับ แล้วผมจะอยู่อย่างไร สักวันถ้าผมเหลืออด ผมจะตีมันด้วยขวดใส่น้ำอ้อยให้หายแค้นเป็นความคิดของคนขายน้ำอ้อย.... กรุงเทพฯของตำรวจจราจรเป็นการตั้งด่านกวดขันวินัยของผู้ขับรถมันหมายถึงเงินค่าปรับแต่ผมลืมบอกว่าวินัยมันสร้างที่โรงเรียนและฝังจบอยู่ในนั้น พ.ศ.นี้หลายคนลืมว่าเคยมีวินัย...กรุงเทพฯของนักหนังสือพิมพ์เป็นการเขียนข่าว PR องค์กรหรือตัวบุคคล ให้ดูแนบเนียนมากกว่าอุดมการณ์ของนักหนังสือพิมพ์...ก็มันทำให้หนังสือของผมอยู่รอดนี่หว่าเสียงจากบรรณาธิการหลังแป้นพิมพ์ขณะจิบไวน์คาราแพงที่เป็นของกำนัลบริษัทPR...และหลายๆตัวละครของกรุงเทพฯที่น่าทำความรู้จักในพ.ศ.นี้หรือ พ.ศ. ไหน มันเป็นตัวละครที่น่ารักและผมจะบันทึกตัวละครเหล่านั้นผ่านหน้ากระดาษแห่งนี้ไม่ให้มันดูว่างเปล่าเพื่อส่งผ่านไปยังผู้อ่านในการทำความรู้จักกับกรุงเทพเมืองหลวงของประเทศไทย
กรุงเทพฯ พ.ศ.นี้ของผมต่างจาก พ.ศ.ของคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ ผู้เป็นครูสอนชั้นเชิงในการมองชีวิตคนกรุงผ่านงานเขียน  กรุงเทพฯรจนา  แต่กรุงเทพฯก็ยังเย้ายวนให้ผมหลงใหลในบางห้วงเวลา.... จอดให้ผมลงหน่อยกรุงเทพฯผมจะลงไปคุยกับคุณ....






สมองเสื่อมภัย
ที่มากับสังคมสูงวัย........

เรื่อง อดัม ชินจัง










ถ้าวันหนึ่งคุณหรือคนรอบข้างที่คุณรัก ตื่นขึ้นมาพร้อมกับการสูญเสียความทรงจำอย่างเฉียบพลัน  ความนึกคิดเปลี่ยนไป ความสามารถเปลี่ยนไป บุคลิกเปลี่ยนไป ทุกอย่างที่เป็นตัวของเราเปลี่ยนแปลงไป บางสิ่งบางอย่างที่เคยทำได้ดีที่สุด เปลี่ยนเป็นการทำไม่ได้เลย ความไร้สามารถเข้ามาแทนที่ความเก่งที่เราเคยมี
กว่า90%ที่คนรอบข้างของผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมไม่รู้ว่าคนๆนั้นกำลังป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายขึ้นในครอบครัว โรคสมองเสื่อมกำลังเป็นภัยมืดที่เข้ามาสูสังคมที่มีคนสูงวัย อย่างเงียบๆตัวเลขการเติบโตของโรคมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่น่าเป็นห่วงคือตัวเลขคนที่เป็นโรคสมองเสื่อม เริ่มมีช่วงอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ....
ภาวะสมองเสื่อม(dementia) เป็น ความผิดปกติของสมองที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยมีโรคหลายชนิด ที่เป็นสาเหตุของกลุ่ม อาการนี้ โรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อมเหตุหลอดเลือด เนื่องจากสัดส่วนประชากรสูงอายุที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ภาวะนี้จึงมีความสำคัญมากขึ้นเพราะก่อให้เกิดความเสียหายต่อครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจของชาติดังนั้นความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และรักษาโรคนี้จึงมีความสำคัญ อย่างยิ่ง 
          โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการสมองเสื่อม โรคนี้เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง โดยเชื่อว่า น่าจะเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วม กับปัจจัยสิ่งแวดล้อม  โรคนี้เพิ่ม ขึ้น เรื่อย ๆ ตามอายุของผู้ป่วยโดยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 5ปีของอายุที่เพิ่มขึ้นจาก  60ปี ในประเทศไทยเองมีการศึกษาถึง ความชุกของภาวะสมองเสื่อมในชุมชนโดยพบประมาณ9.88 รายต่อประชากร100คนที่มีอายุมากกว่า 60  ปี
 ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมักมีอาการหลักอยู่ 2 กลุ่ม คือปัญหาด้านความจำและปัญหาด้านพฤติกรรมหรืออารมณ์
ผู้ป่วยในระยะแรกอาจไม่สังเกตว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น  ผู้ป่วยมักมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตนเองเริ่มมีปัญหาด้านความจำจนกระทั่งเกิด อาการเฉียบพลัน ให้เห็นว่ามีความผิด ปกติ รุนแรงขึ้น เช่น หลงทาง เกิดอุบัติเหตุ ญาติสงสัยว่าจะเป็น โรคนี้ หรือมีอาการสับสนเฉียบพลันหลังป่วยด้วยโรคอื่น หรือเกิดหลังผ่าตัด ฯลฯ
ภาวะของสมองที่ เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ จนมีผลต่อ สติปัญญา อารมณ์ การตัดสินใจ การดำเนินชีวิต ประจำวัน อาชีพและสังคมในที่สุด ในอดีต เรามักเชื่อกันว่า อาการหลงลืมในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องปกติของคนที่มีอายุมากขึ้น เป็นการหลงลืมตามวัยยิ่งมีอายุมากขึ้น ก็จะยิ่งหลงมากขึ้น แต่ความเชื่อดังกล่าวไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด ยังมีผู้ป่วยอีกส่วนที่มีอาการสมองเสื่อม ซึ่งเกิดจากทำงานของสมองใหญ่ผิดปกติ ทำให้มีผลต่อการประกอบกิจวัตรประจำวัน รวมทั้งพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์  
พ.ญ .สิรินทร ศิริกาญจน นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม กล่าวถึงภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยว่า เรามีผู้สูงอายุประมาณ 10 เปอร์เซ็นกว่า เมื่อไรก็ตามที่ผู้สูงอายุเกินกว่า10 เปอร์เซ็น เราเรียกว่าสังคมนั้นเป็นสังคมผู้สูงวัย ปัจจุบันเรามีประชากรซัก 60 กว่าล้าน คน ผู้สูงอายุก็มีประมาณ 6-7 ล้าน เรามีคนที่มีความสามารถทางสมองที่เปลี่ยนไปของผู้สูงอายุ ประมาณ10 เปอร์เซ็น ของผู้สูงอายุ จาก6 ล้านกว่าคน ของผู้สูงอายุ ก็มีประมาณ 600.000 กว่าคน ถ้าถามว่า หกแสนกว่าคนต้องป่วยไหม ถ้าคำนวณง่ายๆอย่างน้อยก็สามแสนคนขึ้นไป
สาเหตุที่เกิดโรค
ถ้าจะตอบแบบให้ง่ายๆก็คือมันเป็นโรคที่เกิดขึ้นในสมอง เสื่อมสลายลง กลุ่มที่มันเสื่อมเราเองก็ไม่ทราบว่ามันเกิดอะไรขึ้น กลุ่มนี้จะเกิดทางตะวันตก มาก โรคนี้ที่เรารู้จักกันดีที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ ภาษาหมอเรียกว่าโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของสมอง เริ่มต้นมันอยู่ในสมองตัวเนื้อสมองเองมันเสียไป ที่จริงในกลุ่มนี้ยังมีโรคอื่นๆอีกมากมายที่คุณๆไม่คุ้นชื่อ ลักษณะโรคทางเทคนิคก็แตกต่างกันออกไป อีกกลุ่มหนึ่งที่เจอก็คือเป็นเรื่องอื่นๆนอกสมองแล้วทำให้สมองเสียหายไป อันที่เจอบ่อยที่สุดก็คือ หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองมีความบกพร้อง เราเรียกสมองเสื่อมที่เกิดจากหลอดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ เจอในคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดมาก กลุ่มนี้ก็จะมีหลอดเลือดตีบ เช่นตีบที่หัวใจ ตีบที่สมอง ถ้าไปโดนที่เรื่องของความรู้ความจำความสามารถคนไข้อาจเกิดอาการสมองเสื่อมได้ ในตะวันตกเราพบโรคอัลไซเมอร์มากกว่าหลอดเลือด ส่วนทางตะวันออกเราพบปัญหากล่ำกึ่งกัน ระหว่างอัลไซเมอร์กับหลอดเลือด
จริงๆแล้วเรามีสังคมที่แก่ลง คือเรามีคนสูงอายุมากขึ้น คือโรคมันมีอยู่แล้วมันอาจพุดขึ้นมาตอนอายุ 70-80  อันนี้ก็เป็นเพราะสังคมสูงวัยขึ้น ส่วนเรื่องของหลอดเลือดก็มีเพราะชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราใช้ชีวิตต่างออกไป ลองคิดดูสมัยก่อนกินข้าวเสร็จกินน้ำเปล่าอย่างเดียว ต่อมาเราก็มีน้ำอัดลมมีน้ำผลไม้ปั่น เราได้น้ำตาลเข้าไปเยอะ วิถีการกินเราเปลี่ยนไป ส่งผลต่อหลอดเลือด อาจารย์คิดว่าต่อไปเราก็อาจเจอคนที่เป็นสมองเสื่อมในอายุน้อยลง เราต้องปรับวิธีการกินของเรา อ่อนหวาน อย่ากินหวานมาก อย่ากันของมันๆเยอะ ต้องกินข้าวกินผักกินเนื้อสัตว์ปานกลางกินน้ำมันน้อยๆ แล้วของหวานก็กินพอหอมปากหอมคอ พอ รู้จักกิน และออกกำลังกาย
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนใกล้ตัวเราเริ่มมีภาวะสมองเสื่อมแล้ว
มันมีหลายแบบ หลายครั้งคนไข้กลุ่มหนึ่ง ก็จะมาแบบว่าพูดซ้ำๆหรือเล่าเรื่องซ้ำๆเดิมๆที่ตัวเองเป็นอยู่ เรื่องเดิมเรื่องเดียว พูดซ้ำๆอย่างเดิมอันนี้ผิดปกติแล้ว อาจจะยังไม่เห็นความเสื่อมอย่างชัดเจน หรือเกิดเหตุการณ์อะไรบางอย่างเช่น ขับรถชนอะไรมา กลับตอบไม่ได้ว่าไปทำอะไรมา คือเรื่องอะไรที่น่าจะจำได้กลับจำไม่ได้ อย่างนี้มันเป็นภาวะความเสี่ยงที่เป็นโรคความจำเสื่อมแล้ว
จากประสบการณ์ของคุณ คุณนวลศรี อนันตกูล ที่ดูแลพี่สาวที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเล่าประสบการณ์ว่า พี่สาวป่วยเป็นโรคนี้มาตั้งแต่อายุ 52 ตอนนี้63  ตอนนั้นยังไม่ได้สนใจว่าผิดปกติ พี่สาวไปซื้อกับข้าวแล้วลืมเอากลับมา คิดว่าเป็นการลืมแบบผู้สูงอายุ ทั่วไป  ตอนหลังลืมสุดๆ แกเป็นคนขับรถเก่งมาก แต่ขับรถไม่ได้เลย ไม่ใช้ว่าขับรถไม่ได้อย่างเดียวแต่ไม่ทราบว่ากำลังขับรถ แล้วก็ไม่ทราบว่าอยู่บนถนน ไม่ทราบว่าจะไปไหน ไม่ทราบหมดทุกอย่างเลย และอีกอย่างพี่สาวเป็นคนทำขนมเค้กเก่ง แต่ทำไม่ได้เลย แกลืมมาก ความสามารถลดลง
ส่วนคุณ แม่ทัพ ต. สุวรรณ ที่ดูแลคุณแม่ที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม กล่าวว่า จริงๆทุกๆ6เดือน มันมีอะไรใหม่ๆตลอด เหมือนกับความรู้ความเข้าใจความสามารถเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่โชคดีที่ทุกวันนี้ท่านยังเดินได้ เคียวข้าวได้ แต่เรื่อง พูด เขียนหนังสือนั้นหายไป ก่อนหน้านี้เราไม่คอยได้รับความร่วมมือจาก การทานอาหารเท่าไหร่ จะคล้ายเด็กๆ กินสี่ห้าคำแรก ตอนหิว พอมีอาหารลงไปในท้อง ก็หันหน้าหนีบ้างลุกเดินหนีบ้าง แต่วันนี้ก็ดีขึ้น อาการจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มีอะไรแปลกๆให้เราได้แก้เรื่อยๆ อย่างที่อาจารย์บอกคนเป็นโรคนี้จะทำอะไรไม่มีเหตุมีผล เวลาเดินก็จะเดินจนหน้าติดกำแพงถึงจะหยุดก็มี มีอยู่คืนหนึ่งแกลุกขึ้นมาเดินแล้วก็ไปล้มก้นกระแทก ทำให้กระดูสันหลังทรุดไปสองข้อ เราไม่รู้เรื่อง คนที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเราต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
รายงานขององค์การโรคอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ(Alzheimer’Disease International: ADI) ปี พ.ศ.2553 ระบุว่ามีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั่วโลกมากกว่า 35 ล้านคน อยู่ในเอเชียอาคเนย์ 2.4 ล้านคน ในประเทศไทยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งทำงานสำรวจในประชากรโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่4 ในปี พ.ศ.2551-2552 จำนวนทั้งสิน 21,960 คน มีผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จำนวน 44%  หรือ 9,720 คน พบว่า ผู้สูงอายุ ที่อายุ 60ปีขึ้นไป มีภาวะสมองเสื่อม 12.4% โดยในผู้ชายพบ9.8% ขณะที่ผู้หญิงอยู่ที่15.1% แบ่งตามช่วงอายุ 60-69 ปี อยู่ที่7.1% ช่วงอายุ 70-79 ปีอยู่ที่ 17.4% และอายุ80ปี ขึ้นไปพบสูงถึง32.5%  ขณะที่ข้อมูลผลการสำรวจ ประชากรสูงอายุ ปี พ.ศ.2553 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สัดส่วนผู้สูงอายุที่12% ของประชากรและประมาณว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 17 % ในปี 2563 โดยประมาณของผู้ป่วยสมอง เสื่อมทั้งประเทศมีอย่างน้อย 3 แสนคน และที่น่าตกใจคือ กว่า90% ผู้ป่วยเหล่านี้ รวมทั้งญาติและผู้ดูแลไม่ทราบว่าเป็นสมองเสื่อม

ในภาวะปัจจุบัน สิ่งที่จะมาทำลายสมองมีมากมายหลากหลายสาเหตุ ความเคียด  การใช้ยาบางชนิด อาหารการกิน และอีกหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน สังคมที่แข่งขันกันในทุกด้านทำให้การดำเนินชีวิต ของคนเมือง เปลี่ยนไป ความรีบเร่ง การกินอย่างรีบด่วน และการใช้ชีวิตอย่างไม่ดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งโรคสมองเสื่อม
โรคภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคที่ยังไม่มียาตัวไหนที่จะรักษาให้หายขาดได้ คนที่เป็นมีความทุกข์พอๆกับคนรอบข้างที่ดูแล บางคนเคยเป็นคุณพ่อที่เก่ง บางคนเคยเป็นคุณแม่ที่ดี ในอดีต ปัจจุบันความไร้สามารถเข้ามาแทนที่ คนรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้อาการคนไข้นั้นดีขึ้นหรือแย่ลง  ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่ต้องดูแลคนไข้ที่ป่วยให้เราทำความเข้าใจกับตัวเองว่า เราไม่ได้ป่วย เรากำลังดูแลคนป่วย ที่ไม่มีเหตุผลในการแสดง พฤติกรรมต่างๆ ที่ผิดเพียนไปในชีวิตประจำวัน อย่าไปถือสาอะไรกับคนป่วยโรคสมองเสื่อม  ถ้าสังคมรอบข้างคนป่วยเข้าใจ บางที่อาการที่เลวร้ายต่างๆก็อาจดีขึ้นไม่มากก็น้อย