วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รวมภาพน้ำท่วมกรุงเทพฯ






































































วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเมืองบนจิตอาสากับผู้นำที่ขาดสคริปแก้น้ำท่วม...







        ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มหันตภัยครั้งนี้อาจสร้างความสูญเสียต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) เป็นมูลค่าสุทธิ 242,200 ล้านบาทในกรณีพื้นฐาน แต่ในกรณีเลวร้ายความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยสุทธิอาจสูงถึง 330,800 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.3-3.1% ของจีดีพี โดยภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายหนักที่สุดมีมูลค่าประมาณ 171,900-234,900 ล้านบาท (หรือคิดเป็นกว่า 70% ของความเสียหายทั้งหมด) อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ยังมีความเสียหายในภาคการเกษตร มูลค่า 37,100-46,000 ล้านบาท และภาคบริการและอื่นๆ รวม 33,200-49,900 ล้านบาท
 นอกจากตัวเลขทางเศษกิจ แล้วความเสียหายที่เกิดกับชีวิตและจิตใจของประชาชนก็เป็นความเสียหายที่ต้องเยียวยา หลายๆแห่ง บ้านเรือนเสียหายและจมอยู่ใต้น้ำ ด้วยสถานการณ์น้ำท่วมอยู่ขนาดนี้เราจึงเห็นธารน้ำใจของคนไทยไหลหลั่งให้ความช่วยเหลือมาจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ อาหารแห้ง น้ำดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงกายดูเหมือนมีความจำเป็นพอๆกับปัจจัยยังชีพต่างๆ  จากการสังเกตการณ์ของทีม t-news urbanites  หลายๆหน่วยงานทำหน้าที่กันอย่างเต็มที่  ที่ได้รับหมอบหมาย  เช่นทหารหน่วยต่างๆ คอยบริการช่วยเหลือเคลื่อนย้ายคนออกจากพื้นที่ และนำพาคนเข้าไปในพื้นที่ประสบภัย  โดยทางรถและเรือ ตลอดทั้งวันโดยโพลล์ของ ABAC เผยว่า ประชาชนพอใจในการทำงานของทหาร65.0 % ส่วนตำรวจ ก็ใช้เรือเจ็ตสกีคอยตรวจตาขโมย ที่จะเข้าขโมยของบ้านของผู้ประสบภัย แต่ถึงอย่างไรความช่วยเหลือก็ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ อย่างเช่นในตามซอยลึกความช่วยเหลือจะเข้าไปยากมาก ประชาชนส่วนหนึ่งยังต้องการความช่วยเหลือ จากการสอบถามผู้ประสบภัยรายหนึ่งว่าไม่ได้ยินข่าวที่รัฐบาลประกาศให้อพยพหรือ รู้ได้ยินแต่อยากอยู่เฝ้าบ้านมากกว่า แต่เมื่ออยู่ไม่ไหวก็อยากไปอยู่ที่ศูนย์อพยพ ผู้ประสบภัยรายหนึ่งกล่าว  ส่วนภาคเอกชน หลายหน่วยงาน ได้ออกมารวมใจกันทำงานอาสาสมัครอย่างมากมายในการช่วยเหลือคนที่ประสบภัยน้ำท่วม
  
       เมื่อเกิดภัยพิบัติดังกล่าวย่อมสะท้อนว่ามันเกินขีดความสามารถที่รัฐบาล กลไกราชการจะสามารถรับมือได้ไหว ผู้ที่จะยื่นมือเข้ามาสนับสนุนและเป็นหลักพิงให้ระบบไม่ล้มเหลวก็คือ อาสาสมัคร

อาสาสมัครมือที่ปราศจากผลประโยชน์
บนความจำเป็นอย่างหนึ่งของพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม คือคนที่มีจิตอาสา คอยช่วยเหลือพีน้องที่ประสบภัยโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน  มือนี้สะอาด แต่บนเกมการเมืองมือที่สะอาดเหล่านี้กับหยิบยื่นผลประโยชน์แอบแฝงทางการเมืองกับกลุ่มคนที่มีอำนาจหรือควบคุมกลไกลในการแจกจ่ายเครื่องยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย โดยมีฐานเสียงตัวเองเป็นกรอบในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังจะเห็นได้จากข่าว มีนักการเมืองชื่อนั้นชื่อนี้ ให้การช่วยเหลือ โดยเป็นสิ่งของ ของประชาชนที่รวมกันบริจาคโดยมีอาสาสมัครช่วยในการรวมสิ่งของ  และอีกหลายๆเขตที่สิ่งของจากส่วนกลางส่งไปตามเขตต่างๆที่ประสบภัย คนที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจ จะได้รับการแจกจ่ายก่อนส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปจะได้รับน้อยมาก พนักงานเขตชั้นผู้น้อยคนหนึ่งกล่าว อันนี้ยังไม่รวมถึงการตอบโต้ถึงผลประโยชน์ของนักการเมือง  ในฝ่ายตรงข้ามของตัวเองและพวกพ้อง ทำให้เกิดการปะทะคารมของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน

 ประเทศไทยเราขาดผู้นำ... หรือว่าไม่มีสคริปในบทน้ำท่วมของผู้นำ
จากงานเขียนของคุณ วันชัย ตันใน หนังสือพิมพ์มติชน ที่บอกถึงการจัดการน้ำของรัฐบาล นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า  คนที่กำหนดให้เส้นทางน้ำไหลไปท่วมทางใดทางหนึ่งนั้น ไม่ใช่นักวิชาการ วิศวกร หรือผู้เชี่ยวชาญทางน้ำหรอก แต่เป็นนักการเมืองล้วน ๆ  ช่วงเวลาก่อนที่กองทัพน้ำก้อนมหึมาจะมาไหลเอ่อท่วมจังหวัดภาคกลาง มีการออกกำลังภายในของนักการเมืองรุ่นใหญ่ สั่งให้กรมชลประทานผันน้ำไปในทิศทางตรงข้ามกับจังหวัดของตัวเอง เพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้าท่วมที่นาของชาวบ้านเขตฐานเสียงของตัวเอง  เพราะยังเกี่ยวข้าวไม่เสร็จ โดยไม่ได้สนใจองค์ความรู้เรื่องการจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยภาพรวมเลย ตอนนั้นเราจึงได้เห็นน้ำท่วมที่นาหลายจังหวัด บางจังหวัดท่วมพอเป็นพิธี แต่พอเกี่ยวข้าวเสร็จ ปริมาณน้ำมหาศาลก็ไหลท่วมจังหวัดเหล่านี้โดยเท่าเทียมกัน เพราะสุดท้ายแล้วแนวกั้นน้ำเหล่านี้ที่สร้างอย่างไม่ถูกหลักวิชา ก็พ่ายแพ้ต่อแรงดันมหาศาลของกองทัพน้ำที่หลั่งไหลไปสู่พื้นที่ต่ำ
     ดังนั้นการจัดการปัญหาอุทกภัยที่เรากำลังเผชิญทุกวันนี้ เป็นเรื่องของความเข้าใจ เป็นเรื่องของการใช้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องบวกกับความสามารถในการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ แต่ทุกวันนี้ภาพที่ปรากฎทางหน้าจอทีวี ตอนรายงานข่าวถึงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. รอบข้างคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของเรา แทนที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ วิศวกรทางน้ำคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด กลับท่วมท้นไปด้วยหน้าตาบรรดานักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ชูหน้ากันสลอน แทบไม่มีใครมีความรู้ความชำนาญแก้ปัญหาภัยพิบัติที่คนไทยต้องเผชิญอยู่เลย

    กองทัพน้ำตั้งแต่นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี อยุธยา ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี จึงตีด่านกั้นน้ำทุกด่านแตกกระจุย รัฐบาลใช้คนผิดในการแก้ปัญหาอันสลับซับซ้อน การประเมินสถานการณ์ของรัฐบาลจึงผิดพลาดมาโดยตลอด บ่อยครั้งที่เราจึงมักจะได้ยินเสียงใส ๆ ว่า “ ขอแสดงความเสียใจหลายครั้งที่กรมชลประทาน หน่วยงานที่มีความรู้ความชำนาญในการจัดการน้ำมากที่สุดของประเทศ ได้แนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแก่รัฐบาล ไม่ว่าจะการปิดประตูน้ำตรงคลองนี้ เปิดประตูน้ำตรงคลองนี้ เพื่อระบายน้ำจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ยอมปล่อยให้บริเวณนี้ท่วม เพื่อรักษาอีกบริเวณหนึ่ง โดยพิจารณาจากความสำคัญของพื้นที่ และรัฐบาลต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพื้นที่ที่ยอมเสียสละอย่างเต็มที่แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ไม่กล้าตัดสินใจอะไร เพราะกลัวจะกระทบฐานเสียงของสส.ในสังกัด คนนั้นหรือคนนี้ จนสุดท้ายน้ำก็เอ่อล้นท่วมนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ค่าเสียหายทวีความรุนแรงหลายแสนล้านอย่างน่าอดสู เพราะการไม่กล้าตัดสินใจของรัฐบาล
 สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องความทุกข์ ความเสียสละ และการให้โอกาสรัฐบาลทำงานแก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วม กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 1,457 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 28-29 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.4 รู้สึกเบื่อหน่าย เครียดและวิตกกังวล เป็นความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นในช่วงภัยพิบัติน้ำท่วม ขณะที่ร้อยละ 76.9 ระบุว่า ไม่สะดวกในการเดินทาง ร้อยละ 66.8 ไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 58.5 อาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรคมีไม่เพียงพอ และร้อยละ 38.9 กำลังขาดรายได้

นอกจากนี้ ร้อยละ 74.9 ระบุว่า ความช่วยเหลือของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต่อประชาชนผู้ประสบภัยไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตามร้อยละ 61.9 ยังให้โอกาสน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมต่อไป แต่สิ่งที่ต้องการให้นายกฯสั่งการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน พบว่า ร้อยละ 73.3 ปรับปรุงการทำงานของตำรวจ ไฟฟ้า น้ำประปา เป็นการเร่งด่วน ร้อยละ 70.2 ช่วยเหลือให้ทั่วถึง ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ช่วยเฉพาะกลุ่มหัวคะแนนของตน ร้อยละ 68.4 แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง ขาดตลาด ร้อยละ 65.0 ติดตามจับกุมมิจฉาชีพ คนร้ายลักทรัพย์ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติให้ได้ ร้อยละ 61.5 เรียกร้องให้ปรับปรุงการทำงานของศูนย์ Hot Line ให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านต่างๆ ร้อยละ 58.1 ลงพื้นที่เข้าถึงชาวบ้าน และร้อยละ 52.4 แก้ปัญหาขาดรายได้ การประกอบอาชีพของประชาชน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สิ่งดีๆ ที่ประชาชนพบเห็นในภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 ระบุความช่วยเหลือเกื้อกูล ความมีน้ำใจของคนในชาติ รองลงมาคือร้อยละ 76.3 ความเสียสละ ร้อยละ 73.5 ความอดทน ร้อยละ 70.9 ความสามัคคี และร้อยละ 69.5 ความรักและการแบ่งปัน ตามลำดับ นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 40.6 เริ่มมีความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 22.8 เชื่อมั่น ร้อยละ 23.9 ไม่ค่อยเชื่อมั่น และร้อยละ 12.7 ไม่เชื่อมั่น ตามลำดับ







.
น้ำท่วมครั้งนี้เราเห็นน้ำใจการคนไทยที่คอยช่วยเหลือคนที่ประสบภัยอย่างมากมาบ... น้ำท่วมครั้งนี้เราเห็นผลประโยชน์แอบแฝงของนักการเมืองบางคน...  น้ำท่วมครั้งนี้ เราเห็นความสับสนในการสื่อสารระหว่างรัฐบาล กับภาคประชาชน ....น้ำท่วมครั้งนี้เราเห็น รอยยิ้มของคนที่ได้ผลประโยชน์และคราบน้ำตาของคนที่กำลังเดือดร้อน....น้ำท่วมครั้งนี้สอนบทเรียนอะไรบ้างกับคนไทย...น้ำท่วมครั้งนี้เป็นบทเรียนราคาแพงของประเทศไทย เราคนไทยได้อะไรจากบทเรียนนี้......

สองนาทีกับชาติ กอบจิตติ



                            สองนาทีกับ ชาติ กอบจิตติ


หลายวันก่อนได้เจอกับนักเขียนรุ่นใหญ่อย่าง ชาติกอบจิตติ ผมรู้จักพี่ชาติผ่านงานวรรณกรรมในหลายๆเล่ม ทุกครั้งที่ผ่านแผงหนังสือถ้าเห็นชื่อ ของชาติ กรอบจิตติเป็นจะต้องเปิดอ่านหรือชำเลืองดูไม่มากก็น้อยแล้วแต่ตามโอกาสที่จะอำนวย และบ่อยครั้งต้องควักเงินซื้องานเขียนของนักเขียนอย่างชาติ เพียงเหตุผลเพราะ ชอบ และอยากตามดูการเดินทางของตัวอักษร ผ่านงานเขียนที่สะท้องสังคมอีกด้านที่เข็มข้นของชีวิต อย่างที่คุณ เสนีย์ เสาวาพงศ์ เขียนถึงชาติว่า สุนทรียภาพตามความเป็นจริงที่เปล่าเปลีอย เขาวางตัวเป็นผู้แสดงความจริงทางสังคมให้ปรากฏ แล้วก็หยุดอยู่ตรงนั้น จึงดูเหมือนกับว่าเขาเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์เท่านั้น  ผมมีเวลาบนหน้ากระดาษไม่มากที่จะทำความรู้จักกับชายคนนี้ ผ่านบทสนทนา ถึงตัวตนและวิธีคิด  แต่อย่างน้อยผมก็มีสองนาทีกับชาติกอบจิตติ
ช่วยupdate ผลงานหน่อยครับ
ก็กำลังเขียนนิยายอยู่แต่ยังอีกนานกว่าจะเสร็จ แล้วก็มีเขียนให้Writerอยู่ ส่วนนิยายที่เขียนอยู่ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะเสร็จ
มุมมองของคุณชาติที่กรุงเทพจะเป็นเมืองหนังสือโลกเป็นอย่างไรบ้าง
มันก็ต้องมาดูตัวเรา มันสำคัญหรือเปล่ากับการจะเป็นเมืองหนังสือโลก ถ้าคนในบ้านเราไม่อ่านหนังสือมันก็ไม่มีประโยชน์อะไรหรอก ถึงเราไม่เป็นก็ได้แต่ถ้าคนอ่านเราเยอะคนอ่านหนังสือมากกว่าปัจจุบันก็ยังดีกว่า ดีกว่าเราเป็นแล้วไม่มีคนอ่านหนังสือมันเป็นแบบหลอกๆ
แล้วที่เคยบอกว่างานหนังสือที่จัดขึ้นมาจะทำลายร้านขายหนังสือเล็กๆ
เดียวนี้ร้านเล็กๆก็ไม่ค่อยมีแล้ว เราก็เพียงแต่ได้บอกเท่านั้นเอง ของข้างหน้าจะให้ทำเราก็ไม่มีอำนาจไม่มีกำลังทำ เดียวนี้ร้านเล็กๆก็คงจะไปกันเกือบๆเกลี้ยงแล้ว
งานเขียนที่เขียนมาคิดว่าถึงจุดสูงสุดหรือยัง
มันไม่ใช่ถึงจุดสูงสุด คือมันยังทำได้อีก ทำได้เรื่อยๆยังมีโอกาสก็ยังทำอยู่  แต่พออายุมันมากขึ้นมันก็เฉื่อยลงแรงเร้ามันก็น้อยลง มีอย่างอื่นที่ทำแล้วมันสนุก... ตอนนี้ก็ทำไร่ปลูกข้าวอะไรไปเรื่อยๆ
อุดมคติในชีวิตวางไว้อย่างไรบ้าง
มันก็ไม่เชิงอุดมคติหรอก เราก็อยู่ได้พึ่งตัวเองได้ แล้วถ้าไปช่วยคนอื่นได้เราก็ช่วยไป แล้วก็ไม่พยายามสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นเค้า ที่เหลือจะกินเหล้าเมายาอะไรมันก็เรื่องของเรา ....


วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

upluz



 ทีมงาน นิตยสาร upluz ปิดตัวไปแล้ว

โดย adam


ฉัน/เธอ/upluz/เจ้านาย/เพื่อน/อยู่ร่วมกัน/ทำงาน/พูดคุย/เสียงหัวเราะ/คำตำนิ/บทเรียน/ฉัน/เธอ/ทำงาน/คิด/เขียน/ถ่ายรูป/จัดอาตร์/พิมพ์/คนอ่าน/ฉัน/เธอ/เจ้านาย/ดีใจ/เสียใจ/เศร้า/ร่าเริง/อยู่ร่วมกัน/35/เล่ม/ผ่านมา/ปิดตัว/ฉัน/เธอ/เจ้านาย/เพื่อน/อดีด/ความทรงจำ/upluz/ในใจเรา/