วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

‘Low Carbon Tourism’ เที่ยวชิคๆ แบบลดคาร์บอนบนเกาะหมาก



                   

                    ‘Low Carbon Tourism’ เที่ยวชิคๆ

แบบลดคาร์บอนบนเกาะหมาก
         
  19.74 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน และ 47,835 ตัน/ปี คืออัตราการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในบริเวณพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง ซึ่งหมายถึงหมู่เกาะช้าง 52 เกาะ เกาะกูด เกาะหมาก และชายฝั่งตราดบางส่วน
จากตัวเลขที่ค่อนข้างสูงจนน่าตกใจข้างต้น ทำให้เกิดการผนึกกำลังจากหลายภาคส่วน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมกันทำการสำรวจวิจัยในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จนกระทั่งเกิดเป็นโครงการ “Low Carbon Tourism” ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวแนวใหม่ที่ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. ได้จุดประกายให้เกิดขึ้น มีเป้าหมายเพื่อมุ่งสร้างความตระหนักในการลดการใช้พลังงาน อันจะนำไปสู่การลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน

นับว่า “Low Carbon Tourism” เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์และเครื่องมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน เพราะทุกทริปการท่องเที่ยวนั้นเป็นการเพิ่มต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ไม่มากก็น้อย ทั้งมลพิษในอากาศที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการเดินทาง รวมทั้งขยะมูลฝอยจากอาหารที่เรารับประทานในระหว่างการเดินทาง เป็นต้น

เกาะหมาก .ตราด คือหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Low Carbon Destination และจะพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต โดยจะส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาแยกขยะ ลดการใช้พลังงาน สร้างพลังงานหมุนเวียนขึ้นมาทดแทน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการแปรรูปขยะนำกลับมาใช้ใหม่ และส่งเสริมนักท่องเที่ยวหันมาลดการใช้พลังงานและเครื่องจักร มาเป็นการเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือพายเรือ เพื่อสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนที่ตนเองไปเยี่ยมเยียน
นอกจากนั้น ฝั่งผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท หรือร้านอาหาร ฯลฯ ก็ยังส่งเสริมให้มีการหันมาใช้เครื่องมือบริหารโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสภาวะอากาศ มีการติดตั้งบ่อหมักก๊าซชีวภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้แก๊สหุงต้ม และการจัดการขยะที่มีกว่า 10,000 ตัน ให้เป็นพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญกับการดำรงไว้ซึ่งวิถีชีวิตชุมชน อีกทั้งมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี ที่เกาะหมาก .ตราด มุ่งสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้นทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม


“Low Carbon Tourism” เป็นการท่องเที่ยวที่ดีทางเลือกหนึ่งที่ควรสนับสนุน แต่ทั้งหมดย่อมขึ้นอยู่กับจิตสำนึกที่ดีของนักท่องเที่ยว คนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยว และผู้ประกอบการในพื้นที่ ต่อการรักษาสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของพวกเราทุกคน เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต และเพื่อยืดอายุให้โลกใบนี้ไปได้อีกนานๆ





วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จากเชียงใหม่ ‘ไนท์’ ถึงชุมชนรอบข้าง คำตอบที่กำลังจะเป็นรูปธรรม


จากเชียงใหม่ไนท์ถึงชุมชนรอบข้าง คำตอบที่กำลังจะเป็นรูปธรรม



ยิ่งมนุษย์อยู่กับความเจริญก้าวหน้ามากเท่าไร มนุษย์กลับยิ่งค้นหาความดั่งเดิมของการเป็นอยู่มากขึ้น และยิ่งมนุษย์มีความสะดวกสบายทันสมัยมากเท่าใด มนุษย์มักจะโหยหาธรรมชาติที่สมบูรณ์และอยากที่จะเรียนรู้ความเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตของคนพื้นถิ่นมากเท่านั้น และบ่อยครั้งที่ผมรู้สึกหงุดหงิดกับการถูกจัดฉากและตบแต่งในความเป็นวิถีของคนพื้นเมือง เพื่อสร้างมูลค่าด้านการตลาดเพียงอย่างเดียว
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเรียนรู้วิถีชีวิตแบบชะโงกหน้าเที่ยวชมโดยมีเวลาจำกัด ไม่สามารถที่จะเรียนรู้ชีวิตในความเป็นวิถีอย่างแท้จริง รีบมารีบชมรีบถ่ายรูป ทุกอย่างถูกกำหนดไว้อย่างแน่นโดยบริษัททัวร์ต่างๆ ที่หวังจากการสร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆกัน โดยชุมชนต่างได้เพียงแค่เศษเงินจากนักท่องเที่ยวหรือบริษัททัวร์ไม่ได้เป็นการเรียนรู้ชีวิตผ่านวิถีของคนพื้นเมืองอย่างแท้จริง
     ปฎิเสธไม่ได้ว่า จังหวัดเชียงใหม่ถือว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้าน การท่องเที่ยว เศรษกิจ และการลงทุน  เพราะจังหวัดเชียงใหม่รองรับนักท่องเที่ยวได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติหรือประเพณีวัฒนธรรมของชาวล้านนา ด้วยความหลากหลายในการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ นิยมเดินทางมาเที่ยวเชียงใหม่ เป็นจุดหมายปลายทาง เมื่อเชียงใหม่เป็นเมืองของนักท่องเที่ยวทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนมีการเติบโตตามลำดับ และคุณภาพของนักท่องเที่ยวเองก็มีความหลากหลาย ทำให้เกิดความซับซ้อนของคุณภาพนักท่องเที่ยวมากขึ้นเช่นกัน

หากจะมีหน่วยงานที่สร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนก็คงเป็นหน่วยงานรัฐที่ชื่อว่าองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูและของสำนักนายกรัฐมนตรีถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่พิเศษในการท่องเที่ยวอย่างยังยืน เที่ยวอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน เมื่อ 9 ปีที่แล้วคงเป็นคำถามให้กับหลายๆคน รวมทั้งนักท่องเที่ยวและชาวบ้าน  สำหรับนักท่องเที่ยวเองไม่เข้าใจว่าในการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนเป็นอย่างไร สำหรับชาวบ้านก็ยังไม่แน่ใจว่าเรามีอะไรที่จะทำให้เป็นการท่องเที่ยวได้บ้าง มันเป็นการท่องเที่ยวแบบไหนและจะเที่ยวอย่างไร จาก 9 ปี ที่ อพท. ดำเนินงาน ให้แนวคิดกับชาวบ้านตามชุมชนต่างๆและคัดเลือกพื้นที่พิเศษสำหรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 9 ปีผ่านมาเริ่มมีเค้าโครงแห่งการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ก่อตัวเป็นรูปธรรมมากขึ้นในหลายเขตพื้นที่พิเศษของอพท. ตัวอย่างเช่นชุมชนรอบเชียงไหม่ไนท์ซาฟารีก็เป็นตัวอย่างที่น่าทำความเข้าใจ




เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเมื่อแรกเริ่มเปิดให้บริการในตอนเย็นจนถึงกลางคืนและจัดเป็นสวนสัตว์กลางคืนแห่งแรกในประเทศไทยแต่ในปัจจุบันเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งวันทั้งในเวลากลางวันและในเวลากลางคืนและอาจนับได้ว่าเป็นสวนสัตว์กลางคืนที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของไนท์ซาฟารีสิงคโปร์

เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุยมีส่วนเชื่อมระหว่างตำบลแม่เหียะอำเภอเมืองและตำบลหนองควาย อำเภอหางดง มีเนื้อที่ทั้งหมด 819 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเป็นเหมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเทื่ยวชมอย่างมากมายในแต่ละปี
และมันเป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้อย่างไร ในเมื่อชาวบ้านไม่ได้มีส่วนรวมกับการท่องเที่ยว

         จากปัญหาดังกล่าว อพท.ได้ทำการคัดเลือกเขตพื้นที่พิเศษ ในบริเวณรอบเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน

 นาย สุรเชษธ์ ตาคำมา ผู้ใหญ่บ้านบ้านสันลมจอย ต.สุเทพ กล่าวว่า ในชุมชนของเรามีความพร้อมในระดับหนึ่ง ที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชม   กอรปกับพื้นที่ชุมชนที่อยู่ติดกับตีนดอย ทำให้สามารถเที่ยวได้หลายอย่าง เช่น นักท่องเที่ยวสามารถปั่นจักรยานเที่ยวชมในหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง หรือจะเป็นการเดินป่าศึกษาธรรมชาติไปจนถึงทางต้นน้ำบนดอย แต่สิ่งที่เราขาดอยู่เป็น การจัดการความรู้ในการท่องเที่ยวและการทำความเข้าใจกับชาวบ้านในการเปิดรับนักท่องเที่ยว จุดแข็งของเราคือ ชุมชนมีความเป็นธรรมชาติเพราะอยู่ตีนดอย มีเส้นทางเดินป่าไปหาแหล่งต้นน้ำ เรามีหมู่บ้านม้ง มีวิถีการเป็นชุมชนเกษตรและอยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่ ที่สามารถเดินทางได้ง่าย เราสามารถที่จะเชื่อมโยงกับเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีได้

บ้านไร่กองขิง ต.หนองควาย ก็เป็นอีกเขตพื้นที่หนึ่งที่สามารถเชี่อมโยงการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น การนวดสมุนไพรในกับนักท่องเที่ยว การปลูกผักอินทรีย์และส่งขายที่ไนท์ซาฟารี ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว  รูปธรรมที่ก่อต่อขึ้นมาด้วยวิธีคิดของ อพท.ในการเป็นพี่เลี้ยงแนะนำ การท่องเที่ยวทำให้ชาวบ้านเกิดการตื่นตัวในระดับหนึ่ง และสิ่งที่จะต่อยอดในการท่องเที่ยวอย่างแท้จริงคงเป็นตัวของนักท่องเที่ยว ที่มาแล้วได้อะไร และไปบอกต่อให้คนอื่นได้รู้มันคงเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต ถ้ามีการสนับสนุบและการจัดการที่ดีต่อไปในอนาคต...